การใช้รถยนต์ส่วนตัวในกรุงเทพฯ พรากอะไรไปจากเราบ้าง
วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก 3 สิ่งที่ถูกพรากไป
เมื่อเราใช้รถยนต์ส่วนตัว บนท้องถนนในกรุงเทพฯ กัน
.
พรากโอกาสที่จะมีสุขภาพที่ดีจากอากาศบริสุทธิ์
ส่วนใหญ่นั้น ก๊าซที่ออกมาจากรถยนตร์ คือ ก๊าซที่ก่อมลพิษ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์(CO), คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และไฮโดรคาร์บอน (HC) ซึ่งก๊าซเหล่านี้ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง ทำให้อากาศมีคุณภาพแย่ลงทั้งหมดนี้อาจไม่ได้สร้างปัญหาทางสุขภาพในทันที แต่มันจะค่อย ๆ สะสมและก่อผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจของเราในระยะยาวนั้นเอง
.
พรากเวลาของเราไปวันละ 72 นาที
โดยปกติแล้วคนที่เดินทางบรถส่วนตัวในกรุงเทพ มักเสียเวลากับการรถติดประมาณ 72 นาทีต่อวัน สำหรับบางคนเวลาเพียงเท่านี้อาจดูไม่เยอะ แต่เมื่อเราลองมองเป็นระยะเวลาภายใน 1 ปี เราเสียเวลากับการรถติดนานพอ ๆ กับการดูภาพยนตร์เรื่อง Harry Potter ทั้ง 7 ภาค ติดต่อกัน 22 รอบ ซึ่งนี้อาจช่วยทำให้คุณเห็นภาพได้ชัดขึ้นว่า 1 ปี เราเสียเวลารถติดไปมากแค่ไหน
.
พรากเงินในกระเป๋าสตางค์
ในช่วงที่น้ำมันปรับขึ้นมากกว่าปรับลงแบบนี้ การใช้รถยนต์ส่วนตัวไม่ใช่ตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อเงินในกระเป๋าสตางค์ของเราเท่าไหร่นัก ยิ่งถ้ายังต้องฝ่ารถติดอีก กลับกลายเป็นเราเติมน้ำมันเท่าเดิม ในราคาที่แพงขึ้น แต่ขับได้ระยะทางที่สั้นลง นอกจากเงินของเราที่ถูกพรากไปแล้ว หากมองปัญหานี้ในระดับประเทศ ในหนึ่งวันมีการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงไปราว ๆ 97 ล้านบาท ซึ่งใน 1 ปี คือ ประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งนับเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจระดับชาติเลยทีเดียว
.
ดังนั้น 22 กันยายนนี้ ซึ่งเป็นวัน Car Free day (วันปลอดรถโลก) พวกเรามาทวงคืนสิ่งที่ถูกพรากไปกันเถอะ !
USL อยากเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมรณรงค์ให้ทุกคนหันมาใช้รถขนส่งมวลชน อย่าง รถไฟฟ้า รถเมล์ หรือจักรยาน และการเดินทางเท้า แทนการขับรถยนต์ส่วนตัว ใน Car Free day (วันปลอดรถโลก) เพื่อลดมลภาวะทางอากาศ และลดจราจรท่ีหนาแน่น และโอกาสการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน อีกทั้งเพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน ให้มีใช้อย่างยั้งยืนเพื่อเมืองที่น่าอยู่ของเรา
Comments