top of page

Cities diary เสนอตอน "สวนผักชุมชน"



“โครงการสวนผักชุมชน” 🧺🥬 เริ่มจากชุมชนจักรพรรดิพงษ์ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และขยายผลไปสู่ชุมชนรอบข้างอย่างชุมชนบ้านบาตร และชุมชนวัดโสมนัส  นอกจากการสร้างแปลงปลูกผักชุมชนแล้ว ยังมีการอบรมทักษะความรู้สำหรับการปลูกผักอย่างครบวงจร เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่ชุมชน อีกทั้งยังต่อยอดไปสู่การทำบอร์ดเกมสวนผักบอร์ดเกมอีกด้วย!


แล้ว “ข้อมูล” มาเกี่ยวกับการทำสวนผักอย่างไร? Urban Studies Lab จะพาไปดูเอง : )

 

How to สร้างสวนผักชุมชน (ฉบับนักวิจัยตัวน้อย) 📑🥬

1. สอบถามความต้องการของชุมชน

: เรารู้ได้อย่างไรว่า “คนในชุมชนต้องการให้สวนผักของพวกเขาออกมาหน้าตาแบบไหน?” เริ่มจากการสอบถามความต้องการ ทั้งข้อมูลด้านความต้องการ และข้อจำกัด  เช่น ชนิดของผักที่อยากปลูก ประสบการณ์ปลูกผัก และข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ เช่น ลักษณะพื้นที่ ดิน แสงสว่าง สภาพอากาศ เป็นข้อมูลสำคัญในการประเมินศักยภาพการจัดทำสวนผัก อุปสรรคที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางจัดกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของชุมชนมากที่สุด


2. ร่วมออกแบบและสร้างต้นแบบสวนผักร่วมกับชุมชน

: ปลูกคนเดียวลำพัง คงสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนไม่ได้ การมีกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านการออกแบบสวนผัก ซึ่งจะช่วยให้สวนผักในภาพฝันร่วมกันของชุมชนเกิดขึ้นจริง กระบวนการข้างต้นได้เติมเต็มพื้นที่ว่างเปล่า ด้วยการนำมาออกแบบใหม่ เพื่อใช้สรรค์สร้างประโยชน์แก่ชุมชน โดยรอบตามหลัก Placemaking นั่นเอง


3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และเตรียมพื้นที่ร่วมกับชุมชน

: เตรียมของ และพื้นที่สำหรับการปลูกผักตามแบบที่ออกแบบไว้ โดยมีการทำธนาคารต้นกล้าที่ศูนย์ FREC ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและสามารถดูแลต้นกล้าได้ดี


4. เพิ่มทักษะปลูกผักให้ชุมชนพร้อมลุย!

แปลงปลูกพร้อม! คนพร้อมปลูกผักแล้วหรือยังนะ? มาเตรียมความพร้อมแก่สมาชิกชุมชนอีกสักนิดก่อนพาไปปฏิบัติจริง ด้วย “เวิร์กช็อปการปลูกผัก” โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรมาถ่ายทอดความรู้


ทำให้สวนผักชุมชนบรรลุผลสำเร็จในการสร้างความเข้าใจเทคนิควิธีการปลูกผักอย่างครบวงจร และสัมพันธ์อันดีภายในเครือข่ายชุมชน เมื่อชุมชนมีความพร้อมแล้ว จึงได้เริ่มปลูกผักจริงในสวนผักชุมชน โดยมีทีมงานคอยเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด



🌟 Key to success

: ความร่วมมือของชุมชน รวมถึงการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลรอบด้านเพื่อให้แปลงผักประสบความสำเร็จและยั่งยืน 🎉


🪑 ชุมชนได้อะไร?

: นอกจากจะได้สวนผักชุมชนแล้ว ความสำเร็จที่ไปได้ไกลกว่าผลผลิตที่งอกเงยและถูกนำไปประกอบอาหาร คือการที่สวนผักแห่งนี้ได้กลายมาเป็นแหล่งผลิตที่สร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชนต่อไป : ) ซึ่งเรานอกจากกิจกรรมอบรมและสร้างแปลงผักให้ “ชุมชนจักรพรรดิพงษ์” แล้ว เรากำลังขยายผลไปยังชุมชนข้างเคียง อย่าง “ชุมชนบ้านบาตร” และเพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้แก่ชุมชนในอนาคต

สามารถดาวน์โหลดคู่มือสวนผักชุมชน เรียบเรียงโดย Urban Studies Lab เนื้อหาโดย PLANT:D https://drive.google.com/file/d/1BjOjq0uqah93UkBsBJcDJwvHUGIcCdnG/view?usp=share_link 


17 views0 comments

Comments


bottom of page