top of page
Writer's pictureprai wong

Street For All เมื่อการออกแบบทางเท้า ไม่ใช่แค่ออกแบบให้ ‘ได้มาตรฐาน’ ...แต่ต้อง ‘ได้ใจ’ ทุกคน



| ความแตกต่าง...สู่การออกแบบที่ตอบโจทย์การใช้งานของทุกคน

เรามักมองผู้พิการแตกต่างจากคนทั่วไป ทั้งที่แท้จริงแล้วพวกเขาเพียงต้องการอุปกรณ์ช่วยเหลือ เพื่อเติมเต็มในส่วนที่ขาดหายไป พวกเขาก็สามารถดำรงชีวิตอย่างอิสระ และเดินทางได้ไม่ต่างจากคนอื่นเลย และเพราะความแตกต่างของพวกเขานั้น นำมาซึ่งความต้องการพิเศษทางกายภาพของทางเท้าที่จะสามารถรองรับการใช้งานด้านต่างๆที่หลากหลายและตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้งานคนอื่นๆด้วยเช่นกัน

การออกแบบทางเท้าที่ดี คือการออกแบบโดยคำนึงถึงผู้ใช้งานทุกคน ทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเด็ก วัยรุ่น คนทำงาน พ่อค้าหาบเร่แผงลอย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ใช้รถเข็น หรือระดับรายได้ไม่ว่าจะมีรายได้มากหรือน้อย และครอบคลุมการใช้งานทุกประเภท ไม่ว่าจะใช้งานแบบอยู่กับที่หรือเคลื่อนไหว ต่างมีความแตกต่างและความต้องการเฉพาะ ทั้งหมดนี้เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการใช้งานทางเท้าทั้งสิ้น ดังนั้นนอกจากเราจะต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้พิการแล้ว เราควรตระหนักถึงความต้องการของผู้ใช้งานกลุ่มอื่นๆ ด้วย หากเรามองแบบนี้แล้ว ทางเท้าที่จะเกิดขึ้นนั้น ก็จะไม่ได้ดีเพียงเพื่อตอบสนองต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่จะเป็นทางเท้าที่ดีสำหรับทุกคนในสังคมและทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์จากทางเท้าร่วมกัน

| ทางเท้าคืออะไร ? เกี่ยวข้องกับใครบ้าง ?

#ทางเท้า ถือเป็นพื้นที่สาธารณะ และเป็นเส้นทางสัญจรที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุด เป็นเส้นทางพื้นฐานของมนุษย์ที่จะพาตัวเองไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ เป็นการเดินทางที่ราคาถูกที่สุด รวมทั้งเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังระบบขนส่งอื่น ๆ เป็นสิ่งที่ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยต้องเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตประจำวัน นอกจากจะทำหน้าที่เป็นเส้นทางสัญจรแล้ว ทางเท้ายังเป็นพื้นที่สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย รวมถึงเป็นพื้นที่สำหรับการค้าขายหาบเร่แผงลอย (ที่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม) อีกด้วย

...หากแต่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ในปัจจุบันนี้ ทางเท้าที่เรามีอยู่นั้น ยังต้องยกระดับให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของทุกคนอย่างแท้จริง โดยเห็นได้จากข้อจำกัดต่าง ๆ ที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น ทางเท้าแคบกว่ามาตรฐาน, พื้นผิวขรุขระไม่สม่ำเสมอ หรือมีสิ่งกีดขวางเส้นทาง เช่น ต้นไม้ เสาไฟ ป้ายต่าง ๆ วินมอเตอร์ไซค์ และหาบเร่แผงลอย

ซึ่งข้อจำกัดทางกายภาพเหล่านี้ ควรได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงบริบทของพื้นที่รอบข้าง เช่น การกำหนดความกว้างทางเท้า ที่สอดคล้องกับย่านและความหนาแน่นของการใช้งานในพื้นที่นั้น ๆ , การกำหนดแนวเขตการวางระบบสาธารณูปโภคและพื้นที่สีเขียว อย่างชัดเจนและเป็นระบบ, การวางมาตรการจัดสรรพื้นที่ สำหรับหาบเร่แผงลอยที่เหมาะสม ไปจนถึงกฎหมายข้อบังคับ เรื่องการขับขี่มอเตอร์ไซค์บนทางเท้าที่เข้มงวด

นอกจากประเด็นด้านข้อจำกัดในการสัญจรบนทางเท้าข้างต้นแล้ว ยังมีประเด็นด้านการอำนวยความสะดวกต่างๆที่ควรคำนึงถึงเพิ่มเติมด้วย เช่น การจัดพื้นที่สำหรับการนั่งพักและการให้ร่มเงาระหว่างทาง รวมถึงด้านความปลอดภัยที่เป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งทางเท้านั้น ควรมีการส่องสว่างที่เพียงพอ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานช่วงกลางคืน ไม่มีจุดมืดบอด หรือมุมอับที่เปลี่ยวอันตราย รวมถึงองค์ประกอบทางเท้าอื่น ๆ ที่จะช่วยให้ผู้พิการสามารถเดินทางได้อย่างอิสระและปลอดภัย เช่น การมี Guiding Block และ Warning Block นำทางตลอดแนว และการมีทางลาดที่ได้มาตรฐาน ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์และอำนวยความสะดวกกับผู้พิการที่ใช้รถเข็นแล้ว ยังรวมไปถึงผู้ปกครองที่เข็นรถเข็นเด็ก พ่อค้าที่ใช้รถเข็นใส่ของ และนักเดินทางที่ใช้กระเป๋าลากอีกด้วย เพราะถึงแม้ว่าขอบจะต่างระดับกันเพียง 2-3 ซม. แต่ก็ทำให้คนกลุ่มนี้ เกิดอุบัติเหตุ หรือเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานได้แล้ว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่เราจะต้องให้ความใส่ใจในทุกรายละเอียดเล็ก ๆ เหล่านี้ด้วยเช่นกัน

| นอกจากกายภาพแล้ว #การจัดการ ก็สำคัญ

ข้อจำกัดที่กล่าวมานั้น เป็นเพียงอุปสรรคทางกายภาพที่เราพบเห็นกันจนชินตา ซึ่งในหลาย ๆ ข้อเป็นผลมาจากการบริหารจัดการและทัศนคติของสังคม โดยในปัจจุบัน #สังคมยังให้ความสำคัญกับทางสัญจรของรถมากกว่าทางสัญจรของคนเดินเท้า โดยมีตัวอย่างที่เห็นได้โดยทั่ว ๆ ไป เช่น การตัดแบ่งทางเท้า เพื่อไปขยายช่องทางถนน ทำให้ทางเท้าแคบลงและไม่ได้มาตรฐาน หรือการที่มีรถจักรยานยนต์ขึ้นมาขับขี่บนทางเท้า ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนและทุกภาคส่วนที่ต้องสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญในการจัดการแก้ไขเรื่องนี้อย่างจริงจัง

“ ปัจจุบันมีกฎหมาย กฎกระทรวง ที่มีข้อกำหนดและมาตรฐานต่างๆ อยู่แล้ว แต่ต้องควบคุมเชิงนโยบาย ควบคู่ไปกับกายภาพด้วย ต้องควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้อง ใช้ได้จริง แต่กฎหมายบางข้อยังไม่ครอบคลุมถึงรายละเอียดปลีกย่อยบางเรื่อง เช่น การกำหนดระดับระนาบพื้นให้ไม่ลาดเอียงเพื่อให้ผู้ใช้รถเข็นสามารถสัญจรได้ หรือไฟจราจรที่เอื้อต่อการใช้งานของทุกคน เช่น มีปุ่มกดไฟสัญญาณแบบหน่วงเวลาสำหรับคนสูงอายุ และคำนึงถึงระดับความสูงปุ่มกดเพื่อผู้ที่ใช้งานรถเข็นเอื้อมถึง ” - คุณมานิตย์ อินทร์พิมพ์ Accessibility Is Freedom

| ทางเท้าที่ทุกคนใช้ได้ เริ่มจากนโยบายเมืองที่คิดถึงทุกคน

“ การออกแบบทางเท้าที่ดีควรออกแบบควบคู่ไปกับวิสัยทัศน์ของเมือง คือการออกแบบแบบ Inclusive City เพื่อให้เห็นภาพและทิศทางชัดเจน รวมถึงการสร้างความตระหนักเรื่องความสำคัญของสิทธิ์คนเดินเท้า เพราะในปัจจุบันเราให้สิทธิ์คนใช้รถมากกว่าคนเดิน ควรรณรงค์ให้ทุกคนในสังคมรับรู้ เป็นหนึ่งเดียว และไม่มีการโยนความผิดของอุบัติเหตุเป็นของคนใช้ทางเท้า ” – คุณสว่าง ศรีสม Transportation for All (T4A)

ทางเท้า ถือเป็นสิ่งพื้นฐานที่สามารถชี้วัดคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่นั้น ๆ ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ว่าจะเป็น การรองรับผู้ใช้งานที่หลากหลาย, ความปลอดภัย, การบริหารจัดการอย่างเหมาะสม หรือการสร้างจิตสำนึกส่วนรวมของสังคม ต่างก็เป็นเรื่องจำเป็นที่พวกเราทุกคน ทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องร่วมด้วยช่วยกัน ร่วมมือผลักดันประเด็นสำคัญที่ต้องแก้ไข สร้างความตระหนัก และให้

Comments


bottom of page