top of page
Writer's pictureprai wong

การจัดทำ PB ในโครงการนำร่องยุคโควิด - 19



จากสถานการณ์การแพร่ระบาด #โควิด19 ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ หรือการเมือง ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวทาง FREC (Ford Resource and Engagement Center) จึงได้จัดทำโครงการ Hackathon ในเขตพื้นที่ป้อมปราบศัตรูพ่าย เพื่อออกแบบโครงการนำร่อง Hybrid PB ตั้งรับกับปัญหาจากวิกฤตโควิด 19 ร่วมกับชุมชน . มาสำรวจความคิดเห็นของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนต่อการปรับใช้ PB ในเขตพื้นที่ กทม. ว่ามีแนวทางอย่างไร ? เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ? แล้วสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนหรือไม่ ? ติดตามต่อได้ใน EP.6 : การปรับใช้ Participatory Budgeting ในพื้นที่ กทม.



| Hackathon ในยุค #covid19

.

เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 65 ทาง FREC และ Urban Studies Lab ได้จัดกิจกรรมระดมสมอง ออกแบบโครงการ เพื่อช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่ป้อมปราบศัตรูพ่าย ภายใต้ธีม ‘Covid Resilient’ ร่วมแก้ปัญหาวิกฤตโควิด 19 ผ่านการใช้ทุนงบประมาณสนับสนุนจากทาง FREC เพื่อให้เกิดการผลักดันสู่ระดับนโยบาย

.

ซึ่งเป็นโครงการนำร่อง ที่ทดลองนำหลักการ PB เข้ามาร่วมในการออกแบบโครงการ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้คนในชุมชนได้แสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการพัฒนาออกแบบโครงการ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการ และแก้ปัญหาในพื้นที่ได้อย่างตรงจุด

.

นอกจากนี้ ความต้องการของชุมชนในพื้นที่ ยังถือเป็นกรอบตั้งต้นในการออกแบบพัฒนาโครงการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในด้านการเงิน, การงาน, สุขภาพ, ทักษะอาชีพ, หรือสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ ได้มาจากการสำรวจความคิดเห็น และสอบถามผู้คนในพื้นที่ เพื่อรับฟังเสียงจากชุมชนก่อนนำมาพัฒนาโครงการ



| FREC Hackathon กับการมีส่วนร่วมของชุมชน

.

ก่อนจัดทำโครงการนั้น ได้มีการสำรวจความคิดเห็นและรวบรวมแบบสอบถามความต้องการของชุมชนในพื้นที่ชุมชนจักพรรดิพงศ์, ชุมชนวัดโสม, ชุมชนวัดแค, และชุมชนศุภมิต จำนวนกว่า 150 คน เพื่อกำหนดกรอบในการพัฒนาโครงการ โดยพบว่า…


- คนในชุมชนมีข้อจำกัดในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและสื่อออนไลน์


- คนในชุมชนส่วนใหญ่ มีรายได้โดยเฉลี่ยต่ำกว่า 8,000 บาท/เดือน


- คนในชุมชนบางกลุ่ม เป็นแรงงานต่างชาติ และไม่มีเอกสาร (undocumented communities) ทำให้ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากทางภาครัฐ เพราะไม่มีข้อมูลในระบบ


.

ซึ่งในขั้นแรกของกิจกรรม FREC Hackathon นั้น จะเป็นการนำเอาผลสำรวจความต้องการ และข้อจำกัดของชุมชนดังกล่าว มาสร้างกรอบพัฒนาโครงการในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปะเพื่อชุมชน, การสร้างงานสร้างอาชีพ, ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและอาหาร, การจัดการขยะ, หรือด้านการศึกษา เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนมากที่สุด โดยเน้นสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ที่สามารถทำได้จริงและสามารถติดตามวัดผลได้

.

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้ามาร่วมพูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในขั้นตอนอื่น ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอน Mentoring, Hacking, และการ Pitching ซึ่งเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักการของ PB เพื่อให้สร้างโครงการให้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนมากที่สุด



| เส้นทางสู่ฝัน …โครงการชนะเลิศจาก FREC Hackathon

.

จากกิจกรรม FREC Hackathon การแข่งขันการออกแบบโครงการเพื่อชุมชน ในเขตพื้นที่ป้อมปราบศัตรูพ่าย โครงการชนะเลิศที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณคือ #โครงการเส้นทางสู่ฝัน ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโลกสายอาชีพต่าง ๆ ให้แก่เด็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็น บาริสต้า, ช่างถ่ายภาพ, นางแบบ, หรืออาชีพทางเลือก พร้อมทั้งจัดอบรมทักษะความรู้ตามความสนใจ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพในแก่เด็ก ๆ ในชุมชน ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีเพียงโครงการเดียว ที่ชนะเลิศและได้รับการจัดสรรงบประมาณในการจัดทำ แต่โครงการอื่น ๆ ในกิจกรรม FREC Hackathon นั้น ก็จะถูกนำไปต่อยอดพัฒนาชุมชน และรอการจัดสรรงบประมาณต่อไปในอนาคต

.

ดังนั้นกิจกรรม Hackathon ในครั้งนี้ จึงเป็นตัวอย่างโครงการนำร่องที่ดี ที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการปรับใช้ PB เพราะนอกจากจะเป็นการร่วมพัฒนาโครงการกับชุมชนในขั้นตอนต่าง ๆ แล้ว ยังสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างตรงจุด

Comments


bottom of page