top of page
Writer's pictureThanaburdee Salazar

ข้อสรุปการดำเนินกิจกรรมจากการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน ในการเสนอโครงการการพัฒนาพื้นที่คลอง

Updated: Apr 26, 2023


จากการจัดทำกิจกรรมการสร้างความร่วมมือในการจัดทำงบประมาณอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่เขตรอบคลองผดุงกรุงเกษม 6 เขต ประกอบไปด้วย เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก และเขตปทุมวัน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) สำหรับข้าราชการรุ่นใหม่ แก่เจ้าหน้าที่ของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานครและสำนักงานเขตรอบคลองผดุงกรุงเกษมในการมีส่วนร่วมต่อการเสนอความคิดเห็นในการเสนอโครงการ และพัฒนาโครงการของภาครัฐ จนนำไปสู่ข้อสรุป และการจัดกิจกรรมเวทีข้อเสนอโครงการของชุมชน: พื้นที่ทดลองรอบคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะ และความคิดเห็นที่ชุมชนมีต่อโครงการต้นแบบที่เขตพื้นที่รอบคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และชุมชน ด้านความต้องการและแนวทางในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม และ จากการดำเนินกิจกรรมทั้ง 6 เขตนั้น สามารถสรุปถึงแนวทาง และความต้องการในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษมที่มีร่วมกันในอนาคต โดยสามารถแบ่งระยะการพัฒนาโครงการเป็น 3 โดยพิจารณาจากลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วนของความต้องการในการพัฒนาพื้นที่ และความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต



โครงการที่สามารถทำได้เลย และมีผลกระทบต่อพื้นที่และประชาชนในวงกว้าง

จากกิจกรรมที่เปิดให้ตัวแทนจากภาครัฐ และตัวแทนจากชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นถึงโครงการการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษมจากหน่วยงานภาครัฐ จนถึงการแสดงความคิดเห็น และปัญหาในพื้นที่โดยโดยรอบคลองผดุงกรุงเกษมที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน สามารถสรุปออกมาเป็นการพัฒนาในระยะแรก ที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้างซึ่งสามารถแบ่งประเภทของการพัฒนาเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

1. ความปลอดภัย : การติดกล้องวงจรปิด การติดไฟส่องสว่างในพื้นที่ และการปรับปรุงเรื่องทางม้าลาย เพื่อความปลอดภัยของคนสัญจรทางเท้า

2. โครงสร้างพื้นฐาน : การปรับปรุงทางเดินเท้าให้มีคุณภาพ และเพิ่มทางจักรยานมีความต่อเนื่องกัน ตลอดทั้งแนว การปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง และพัฒนาพื้นที่สาธารณะริมคลองให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ด้านเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม : การจัดทำพื้นที่ค้าขายสินค้าของพื้นที่ เช่น การจัดตลาดนัด และการจัดทำกิจกรรมทักษะอาชีพ



โครงการที่ต่อยอดจากกรพัฒนาในระยะแรก โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของพื้นที่

จากการแสดงความคิดเห็นจากตัวแทนชุมชน และตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐถึงความต้องการในระยะแรกในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม ได้มีการแสดงความคิดเห็นถึงสิ่งที่ควรพัฒนาต่อยอดหากมีการพัฒนาโครงการ ในระยะแรกเพื่อให้พื้นที่คลองผดุงกรุงเกษมมีประสิทธิภาพในการใช้งานทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความปลอดภัยในพื้นที่ โดยระยนี้สามารถแบ่งประเภทของความต้องการในการพัฒนาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1 .ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เน้นการพัฒนาด้านภูมิทัศน์จากการพัฒนาในระยะแรก และเพิ่มกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะในพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาแล้ว และส่งเสริมให้พื้นที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยกลุ่มคนทุกกลุ่ม และมีพื้นที่รองรับยานพาหนะทั้งรถยนต์ และจักรยาน สำหรับคนที่ข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่

2. ด้านศิลปวัฒนธรรม การส่งเสริมการใช้พื้นที่สาธารณะในเชิงวัฒนะรรม เช่น การจัดให้มีการแสดงงานศิลปวัฒนธรรมของพื้นที่ในช่วงงานเทศกาลต่างๆ และการจัดงานค้าขายสินค้า ศิลปะ และอาหารที่เป็นที่ขึ้นชื่อของแต่ละชุมชนโดยรอบคลอง ตลอดจนถึงการจัดทำการท่องเที่ยวในชุมชนโดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม



โครงการการพัฒนาเชื่อมต่อพื้นที่คลองกับย่านโดยรอบผ่านกิจกรรมต่างๆ

ความคิดเห็นในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษมในระยะสุดท้ายจากการสรุปจากการดำเนินกิจกรรมโครงการฯนั้นเน้นไปที่การเชื่อมต่อพื้นที่คลองกับย่านโดยรอบ ไปจนถึงในระดับเมืองเพื่อให้คลองผดุงกรุงเกษมเป็นพื้นที่ที่คนจากพื้นที่ต่างๆสามารถเข้ามาทำกิจกรรม พักผ่อน และท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยจากข้อสรุปจากการดำเนินกิจกรรมนั้นเห็นว่า การพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษมเพื่อเชื่อมต่อกับพื้นที่รอบข้างจะต้องมีการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลักไม่ว่าจะเป็น การคมนาคมทางการเดินเท้าริมคลอง เส้นทางจักรยาน การเชื่อมต่อกับขนส่งสาธารณะอย่างรถเมล์ และ เรือคลองผดุงกรุงเกษม ให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นการพัฒนาส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวโดยรอบคลองผดุงกรุงเกษมในทั้ง 6 เขต ที่มีความหลากหลายทางด้านสังคม และวัฒนธรรมมาเป็นแผนในการกระตุ้นการท่องเที่ยว และโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ จะทำให้การเดินทางในพื้นที่มีความน่าดึงดูด และสามารถเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และพื้นที่การเดินทางที่สำคัญในระดับเมืองของกรุงเทพมหานครได้ต่อไป

128 views0 comments

Comments


bottom of page