top of page
Writer's pictureprai wong

| ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการ PB ได้ยังไง ?



| ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการ PB ได้ยังไง ? #การจัดสรรงบประมาณแบบมีส่วนร่วม นั้น มีกระบวนการในการทำงานอย่างไร ? มีรูปแบบ, ขั้นตอนการทำงาน, ข้อดี - ข้อเสีย, และความเหมาะสมของการนำไปใช้ รวมถึง ปัจจัยความสำเร็จ(KEY)ของกระบวนการ #PB ใน กทม. อะไรบ้าง ?


กระบวนการจัดสรรงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting) เป็นการนำนวัตกรรมทางสังคมและเทคโนโลยีส่งเสริมการมีบทบาทของประชาชนในด้านงบประมาณและโครงการต่างๆภายในพื้นที่ โดยเน้นศูนย์กลางที่การมีส่วนร่วมของประชาชน

.

ประกอบไปด้วย…

- การเข้าถึงข้อมูลที่สะดวกและเร็ว (input)

- การแสดงความคิดเห็น และถกเถียงให้รัฐได้ยิน (output)

- การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงาน

.

โดยในปัจจุบันมีการนำแนวคิดนี้มาปรับใช้เป็นเครื่องมือในหลายพื้นที่ทั่วโลก และสามารถจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ…

1. ประชาชนส่งข้อเสนอต่อรัฐได้โดยตรง

2. ประชาชนส่งต่อความต้องการผ่านตัวแทน

3. E-Participatory Budgeting

.

ซึ่งแผนภาพที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นเพียงต้นแบบของกระบวนการ, หน้าที่, และขั้นตอนในการทำงานร่วมกันของภาครัฐกับภาคประชาชน จากตัวอย่างของเมืองต่าง ๆ เท่านั้น เพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปปรับใช้ของบริบทที่ความเหมาะสมแต่พื้นที่ได้ในอนาคต


ข้อมูลจาก taylor & francis


| PB แบบที่ 1 ประชาชนส่งข้อเสนอต่อรัฐได้โดยตรง

.

การจัดสรรงบประมาณแบบมีส่วนร่วมในรูปแบบนี้ จะเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยตรง ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่กระบวนการการยื่นข้อเสนอโครงการ, การร่วมตัดสินใจและต่อรองเลือกโครงการ รวมไปถึงกระบวนการติดตามผลของโครงการ

.

จุดแข็ง

- ประชาชนทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็น และส่งข้อเสนอได้โดยตรง

- ไม่ต้องอาศัยแนวร่วม (personal ties)

.

ข้อจำกัด

- เนื่องจากประชาชนทุกคนสามารถนำเสนอความคิดเห็นได้โดยตรง ทำให้เกิดประเด็นข้อเสนอที่หลากหลาย

- การปรับปรุงแผนงาน และตรวจสอบความเป็นไปได้ของข้อเสนอโดยรวมใช้เวลานาน

.

ความเหมาะสมของการนำไปใช้

- เหมาะกับบริบทที่ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและสะดวก (input)

- เหมาะกับสังคมเมือง ที่มีความเป็นปัจเจกสูง


| PB แบบที่ 2 ประชาชนส่งต่อความต้องการผ่านตัวแทน

.

การจัดสรรงบประมาณแบบมีส่วนร่วมในรูปแบบนี้ จะเน้นให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและเลือกกลุ่มตัวแทนจากภายในชุมชนของตน โดยกลุ่มตัวแทนดังกล่าว จะได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ในกระบวนการรวบรวมความเห็นของประชาชน และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อกำหนดโครงการที่เหมาะสมกับชุมชนของตน, การจัดกลุ่มระหว่างตัวแทนในแต่ละชุมชน เพื่อร่วมพูดคุยถึงเงื่อนไข ความต้องการ การจัดสรรทรัพยากรที่เสนอโดยภาครัฐ ไปจนถึงกระบวนการร่วมตัดสินใจ และติดตามผลของโครงการ

.

จุดแข็ง

- ลดระยะเวลาในการพิจารณาโครงการ ของภาครัฐที่มีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน อย่างภาครัฐของไทย

.

ข้อจำกัด

- กลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบบของโครงการ มักถูกนิยามจากภาครัฐแคบจนเกินไป

- ในการจัดทำโครงการปรับปรุงพื้นที่ทางเท้า นอกจากหน่วยงานของภาครัฐแล้ว เราควรที่จะต้องรวบรวมความคิดเห็นจากทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของภาคเอกชนในการจัดซื้อจัดจ้าง, กลุ่มพ่อค้าหาบเร่ - แผงลอย, กลุ่มทวงคืนทางเท้า, กลุ่มผู้พิการ, นักผังเมือง, นักวิชาการ, และกลุ่มคนทั่วไปที่สนใจและเกี่ยวข้อง เป็นต้น

.

ความเหมาะสมของการนำไปใช้

- เนื่องจากรูปแบบการมีส่วนร่วมผ่านกลุ่มผู้แทนเพื่อส่งต่อความคิดเห็นและความต้องการของผู้คนในพื้นที่ ดังนั้น PB ในรูปแบบนี้จึงเหมาะสมกับพื้นที่ ที่ประชาชนมีความใกล้ชิดกันสูง



| PB แบบที่ 3 E-Participatory Budgeting (E- PB)

.

การจัดสรรงบประมาณแบบมีส่วนร่วมในรูปแบบนี้ จะเป็นการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรม มาสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านรูปแบบออนไลน์หรืออินเทอร์เน็ต

.

โดยมีกระบวนการตั้งแต่…

- การจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ รายละเอียด และแผนปฏิบัติงาน และการประชาสัมพันธ์ภายในปีนั้น ๆ


- การรวบรวมข้อเสนอ ความคิดเห็น และปัญหา ผ่านกลุ่มผู้นำ อาสาสมัครชุมชน และภาคส่วนต่างๆภายในพื้นที่ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การเปิดโหวต google survey, การจัดประชุมผ่านโปรแกรมออนไลน์ เป็นต้น


- ยกร่างข้อเสนอโครงการ โดยคณะทำงาน ซึ่งอิงข้อมูลจากที่เก็บรวบรวมมาได้


- การลงคะแนนเสียงเลือกโครงการ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์


- การประเมินความเป็นไปได้ และความเห็นชอบร่วมกัน เพื่อจัดทำแผนโครงการและการปฏิบัติงานจริงตามลำดับ


ซึ่งจากการศึกษาข้อมูล DataReportal พบว่า อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดกลุ่มผู้ที่มีบทบาททางการเมืองใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น NGOs, ประชาสังคม, Political Influence ทั้งยังสร้างพื้นที่ที่สามารถนำเสนอโครงการและดึงคนที่คิดเห็นเหมือนกัน มารวมตัวกัน (Hemophilus sorting) ได้อีกด้วย


.

จุดแข็ง

- เป็นการลดข้อจำกัด ต้นทุนทางด้านเวลาและสถานที่ของประชาชนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ

- ลดขั้นตอนในการจัดทำโครงการ โดยเฉพาะขั้นตอนการปรึกษาหารือ เพื่อจัดตั้งโครงการที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้คนในพื้นที่

.

ข้อจำกัด

- เทคโนโลยีที่นำมาใช้อาจสร้างความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (digital divide)เพราะอาจมีบางกลุ่มสังคมในชุมชน ที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ตได้

- ซึ่งกระบวนการ PB ควรจะต้องเข้าถึงความคิดเห็นของคนทุกกลุ่มในสังคม โดยเฉพาะ กลุ่มคนเปราะบางที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี

.

ความเหมาะสมของการนำไปใช้

- เหมาะสำหรับพื้นที่ประชาชนมีความเข้าใจ และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยี (Digital literacy) ในระดับหนึ่ง


ข้อมูลจาก DataReportal


| KEY ความสำเร็จของ PB ใน กทม.


ในการจัดทำกระบวนการจัดสรรงบประมาณแบบมีส่วนร่วมใน #กรุงเทพ ให้ประสบความสำเร็จ เราจะต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้…

.

- ซึ่งเป็นสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน รับฟังและนำเสียงประชาชนไปพัฒนาโครงการที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

- พร้อมทั้งกำหนดกรอบและช่วงเวลาที่ชัดเจนในการจัดทำแผนชุมชน

.

- ในปัจจุบันได้มีการจัดตั้ง #เครือข่ายปลุกกรุงเทพ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านเมือง

- และยังมีการจัดตั้ง #สภาพลเมือง เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับสภากรุงเทพ เพื่อเตรียมความพร้อม และส่งเสริมวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมให้กับพลเมือง

.

#ตัวแทนชุมชน (community representative)

- ในพื้นที่ กทม. เรามีตัวแทนชุมชน ทั้งในรูปแบบ #สภาเขต ที่มาจากการเลือกตั้งของคนในชุมชน และกลุ่มผู้นำชุมชน ซึ่งมีเข้าใจคนในพื้นที่และมีระดับความใกล้ชิดกับกลุ่มคนภายในพื้นที่

.

- กรณีศึกษาจากต่างประเทศ พบว่างบส่วนนี้ เป็นได้ทั้งรายได้จากภาษี, งบประมาณของรัฐ, และเงินอุดหนุนจากองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ

- ซึ่งงบประมาณของไทย จำเป็นต้องมีความยืดหยุ่น หรือไม่มีวัตถุประสงค์ผูกพันรายจ่าย ทั้งเงินเหลือจากงบประมาณรายจ่ายภารกิจพื้นฐาน, หรือการขอรับเงินอุดหนุนรายโครงการจากภาครัฐ

.

- เพื่อสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็น และเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างอิสระ โดยแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ…


1. การเข้าถึงข้อมูลที่สะดวกและเร็ว (input)

- เปิดเผยข้อมูล เพื่อสร้างการรับรู้ในทุกภาคส่วน แต่ยังอยู่ภายใต้ข้อจำกัดทางกฎหมาย ตามข้อยกเว้น ของ พรบ. ข่าวสารทางราชการ


2. การแสดงความคิดเห็นและถกเถียง (output)

- สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารแบบสองทาง

- เช่น การแจ้งข้อมูลและรับฟังความเห็นสาธารณะ (notice and comment) นั้น เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย (informal rulemaking) ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องสามารถตอบข้อสงสัยของประชาชนได้


3. การมีส่วนร่วมของประชาชน (citizen participation)

- ยึดหลักการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

- ช่วยเติมเต็มระบบที่สภาพลเมืองกำลังมองหา

- การมีผังสังคมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน


ข้อมูลจาก iLaw, การศึกษาความเป็นไปได้ของ EPB ในพื้นที่ป้อมปราบ(นายณัฐนนท์ เจริญชัย,2564)

Comentarios


bottom of page