top of page
Writer's picturePranpat Patipat

ภาพรวมความก้าวหน้าของโครงการ SEA

Updated: Apr 3, 2023




จากสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่ผ่านมานั้นเราได้เห็นถึงความยากลำบากในการเข้าถึงของกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และความยากลำบากในการใช้ชีวิตภายใต้สภาวะวิกฤต


โดยเฉพาะในกลุ่มคนเปราะบางภายในพื้นที่ชุมชน URBAN STUDIES LAB จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงของเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร กับกลุ่มคนเปราะบางในพื้นที่ชุมชน


จึงคิดหาวิธีการในการเพิ่มศักยภาพของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มคนเปราะบางในชุมชน อีกทั้งการส่งต่อชุดข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถส่งต่อความช่วยเหลือของกลุ่มคนเปราะบางในชุมชนได้ง่ายยิ่งขึ้น สามารถทำให้การเข้าถึงของกลุ่มเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ที่จะเข้ามาสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ถูกต้อง และแม่นยำมากยิ่งขึ้น


ทาง URBAN STUDIES LAB จึงพัฒนาแบบสำรวจเพื่อที่จะทราบถึงประเด็นปัญหาที่สมาชิกในชุมชนนั้นได้รับผลกระทบ และความต้องการทั้งในสภาวะเร่งด่วน ตลอดจนการต่อยอดไปสู่การสร้างนโยบาย และโครงการต่อยอดในอนาคต




ส่วนที่ 1 การสำรวจข้อมูลสำรวจความต้องการ และการต่อยอดเพื่อช่วยเหลือชุมชนในระยาว


จากการสำรวจความต้องการของชุมชนใน 3 ชุมชนภายในเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายถึงผลกระทบที่ได้รับในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ถึงสิ่งที่ต้องการและความช่วยเหลือที่ต้องการที่จะได้รับในสภาวะเร่งด่วน และความต้องการระยะยาวในอนาคต เพื่อนำไปสู่การออกแบบนโยบาย และจัดทำโครงการต่อยอดที่เหมาะสมกับความต้องการของคนในพื้นที่ชุมชนทั้ง 3 ชุมชน


ความต้องการและความช่วยเหลือของคนในชุมชนในสภาวะเร่งด่วนที่กลุ่มคนในชุมชนนั้นมีความต้องการมากที่สุดนั้นคือ เรื่องของการเงินซึ่งส่งผลกระทบมากที่สุดในกลุ่มคนทุกชุมชน


เพราะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 นั้น กลุ่มคนในชุมชนถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก และไม่มีสวัสดิการรองรับทำให้พบสภาวะปัญหาทางด้านการเงินที่จะดำรงชีพในชีวิตประจำวัน และรองลงมาคือด้านอาหารที่คนในชุมชนนั้นขาดแคลนอาหารจากการขาดรายได้ ทำให้ไม่มีเงินมากพอในการซื้ออาหารเพื่อการดำรงชีวิตในช่วงวิกฤตที่เกิดขึ้น




จากการสำรวจความต้องการ และความช่วยเหลือของคนในชุมชนในระยะยาวกลุ่มคนในชุมชนนั้น

มีความต้องการมากที่สุดนั้นคือ เรื่องของการจ้างงานและทักษะอาชีพ รองลงมาคือด้านการเงิน ซึ่งสองสิ่งนี้เป็นปัญหาหลักที่สามารถพบเจอในกลุ่มชุมชน หรือกกล่าวง่าย ๆ ว่า “ไม่มีงาน ไม่มีเงิน”


ซึ่งการออกนโยบายและหาทางแก้ไขที่เหมาะสมจะสามารถแก้ปัญหาทั้งสองอย่างนี้ไปพร้อมกันได้อย่างยั่งยืน




โครงการต่อยอดจากการสำรวจความต้องการด้านอาชีพของกลุ่มคนในชุมชนจาก อสส


จากที่ URBAN STUDIES LAB ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนเปราะบางในชุมชนแออัด ซึ่งเผชิญหน้ากับความยากลำบากในทุกแง่มุม


โดยการศึกษานี้นั้น มีพื้นที่นำร่องการศึกษาในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ได้ทำการสำรวจถึงความต้องการและความช่วยเหลือในข้างต้น นำมาสู่การต่อยอดโครงการที่จะสร้างความยั่งยืนทางด้านการทักษะอาชีพ และการจ้างงานให้กับคนในพื้นที่ชุมชนแขวงวัดโสมนัส


กลุ่ม อสส มีบทบาทอย่างมากในการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภายนอกและกลุ่มคนในชุมชน กระทั่งการสอบถามถึงความต้องการเร่งด่วนที่ต้องการในช่วงเวลาวิกฤตที่กำลังเผชิยอยู่ แต่ถึงอย่างนั้นการแก้ปัญหาจำเป็นจะต้องเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวและยั่งยืนต่อกลุ่มคน ชุมชน และสังคม


การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ไม่ใช่การหยิบยื่นเงินเพื่อประทังชีวิตไปในระยะเวลาไม่กี่วัน แต่ควรเป็นการสร้างรายได้ทางหนึ่งให้กับกลุ่มคนเพื่อใช้ในการจับจ่ายใช้สอยได้อย่างต่อเนื่องและไม่เดือดร้อน


ซึ่งหนึ่งในโครงการที่น่าสนใจที่เป็นการต่อยอดความต้องการ ซึ่งสามารถนำไปสู่การผลักดันนโยบายที่สามารถทำได้จริงนั้น เป็นโครงการที่ผลักดันให้คนในชุมชนนั้นเกิดอาชีพ นั้นคือ “โครงการสร้างอาชีพจากธนาคารขยะในชุมชนนางเลิ้ง NANG-LEONG PLASTIC BANK”




โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าชุมชนจากธนาคารขยะ ซึ่งเป็นโครงการต่อย่อจาก NANG-LEONG PLASTIC BANK


จุดเริ่มต้นโดย WEAVE ARTISAN ผู้เป็นสื่อกลางในการทำงานกับชุมชน พัฒนาขยะพลาสติกให้กลายเป็น ผืนผ้าใบกันสาด โดยการสนับสนุนจาก BRITISH COUNCIL


เป็นโครงการซึ่งทาง URBAN STUDIES LAB ได้เล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ในการต่อยอด เพื่อให้คนในชุมชนสามารถนำขยะที่อยู่รอบตัวในพื้นที่ชุมชนมาสร้างสรรค์ผลงาน และสร้างอาชีพให้กับตนเองได้ โครงการไม่เพียงแต่ที่จะเน้นการสร้างรายได้ และการนำขยะมาหมุนเวียน แปรรูปเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ แต่ยังเป็นการสร้างความร่วมมือของคนในชุมชนให้เข้ามามีบทบาทในการสร้างผลงานให้กับตนเอง อีกทั้งยังเป็นการสร้างกิจกรรมในละแวกย่านและชุมชน เพิ่มพื้นที่ทางสังคมให้กับคนในชุมชนในช่วงเวลาการเพร่ระบาดของโควิด 19 ที่มีการจำกัดการเดินทาง และการจำกัดบริเวณ


อีกทั้งเป็นการต่อยอดทางเศรษฐกิจ สร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจากขยะในพื้นที่ชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่ดีซึ่งน ามาสู่การจัดทำ “โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าชุมชน จากธนาคารขยะ” เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาศึกษา (กสศ) และ ศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม (FREC BANGKOK) ที่ให้การสนับสนุนพื้นที่ อุปกรณ์ และบุคคลากรในการจัดกิจกรรม เพื่อชุมชน




หลังสิ้นสุดโครงการ NANG-LEONG PLASTIC BANK ชุมชนสามารถต่อยอด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยผลิตภัณฑ์ของชุมชนนั้นถูกนำไปจัดแสดงในงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น


1. งานจัดแสดงของ BRITISH COUNCIL


2. งานเสวนาของ SCHOLAR FOR SUSTENANCE THAILAND ภายใต้หัวข้อ ZERO SUMMIT

“REGERNARATIVE AND RECOVERY FUTURE”


3. CHIANGMAI DESIGN WEEK




ส่วนที่ 2 การสำรวจข้อมูลด้านสุขภาพในชุมชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่ม อสส และการทำข้อมูลปิด


นอกจากในการสำรวจความต้องการในสภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แล้ว ทางโครงการได้มีการ

ทำงานร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข 20 และสำนักอนามัย ในการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของคนในชุมชนมัสยิดมหานาค เพื่อนำข้อมูลที่เก็บได้มาประมวลผลเชิงพื้นที่ และนำเสนอเป็นข้อมูลเปิด เพื่อง่ายต่อการส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานรัฐอื่น ๆ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่จะสามารถเข้ามาในพื้นที่ชุมชนได้ยังถูกต้องและแม่นยำ


จากข้อมูลด้านสุขภาพในชุมชนที่ได้ทำการเก็บรวบรวมและประมวลผลเชิงพื้นที่ออกมา นอกจากนั้นยังนำไปสู่การออกแบบนโยบายทางด้านสุขภาพที่ยืดหยุ่นในอนาคต เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดี และสามารถ เข้าถึงบริการทางด้านสาธารณสุขได้ง่ายยิ่งขึ้น


ปลายทางของการดำเนินโครงการ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกกับชุมชน โดยใช้ ข้อมูลเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ตัดสินใจ และวางแผนดำเนินงาน โดยข้อมูลเหล่านี้ทาง

URBAN STUDIES LAB ยินดีแลกเปลี่ยนให้ข้อมูลกับหน่วยงานที่สนใจ ทั้งนี้จะยังคงปฎิบัติตามกฎหมายป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

35 views0 comments

Comments


bottom of page