top of page
Writer's pictureWirakan Rakamma

สรุปผล 12 โปรแกรมจาก USL และภาคีเครือข่ายภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม (FREC Bangkok) ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567



เมื่อวันที่ 27 มกราคม ถึง 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พื้นที่ย่านนางเลิ้งได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 (BKKDW2024) ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ที่ได้มีส่วนร่วมในเทศกาลฯ  ทางศูนย์วิจัยชุมชนเมือง ขอขอบคุณสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย รวมไปถึงขอขอบคุณนักออกแบบ นักสร้างสรรค์ทุกท่าน ที่มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอแนวคิคและผลงานการออกแบบเพื่อร่วมกันพัฒนาพื้นที่เมืองต่อไป ตามแนวคิดของปีนี้ “คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี” นำเสนอแนวคิดที่ว่าจะร่วมกันทำให้เมืองที่เราอาศัยอยู่ในชีวิตประจำวันให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ ดีต่อกาย ดีต่อใจ และขอขอบคุณทุกท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมผลงานและร่วมทำกิจกรรมในพื้นที่ย่านนางเลิ้ง 


โดยตลอดทั้งเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ได้มีกิจกรรมเกิดขึ้นมากกว่า 25 โปรแกรมทั้งนิทรรศการ กิจกรรมเวิร์คชอป ทัวร์ และอีเวนท์ จากนักออกแบบและนักสร้างสรรค์มากกว่า 12 องค์กร และนิสิตนักศึกษาจาก 4 มหาวิทยาลัย มาร่วมกันนำเสนอแนวคิดและผลงานการออกแบบภายใต้แนวคิด “ย่านนางเลิ้ง บันเทิงทุกวัน”  เพื่อทดลองใช้พื้นที่ที่ยังไม่เกิดการใช้งานในย่าน ให้เป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมที่หลากหลาย นำเสนออัตลักษณ์และเรื่องราวของชุมชนในย่านนางเลิ้งในมุมมองใหม่ ที่มีความคึกคักและความบันเทิง ดึงศักยภาพของพื้นที่ว่างในเมืองให้เป็นพื้นที่ที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันผ่านงานออกแบบ โดยจากการทดลองจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ศูนย์วิจัยชุมชนเมืองและภาคีเครือข่ายภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม (FREC Bangkok)  ได้เข้าร่วมจัดกิจกรรมทั้งหมด 12 โปรแกรม ร่วมกับนักออกแบบ นักสร้างสรรค์ 7 องค์กร ร่วมกับร้านค้าผู้ประกอบการในย่าน 5 ร้านค้า และร่วมกับชุมชน 6 ชุมชนในพื้นที่ย่านนางเลิ้ง เพื่อทดลองนำเสนอผลงานการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมและสามารถใช้ได้จริงในระยะยาวต่อไป 


“Sound Bath / Sound Batr”

นิทรรศการ การเก็บข้อมูลเสียงของการทำบาตรทำมือของชุมชนบ้านบาตร เผยแพร่เรื่องราวผ่านการทำนิทรรศการประสบการณ์ทางเสียง รวมถึงส่งต่อเสียงที่ได้ เพื่อให้ศิลปินและนักดนตรีได้สร้างสรรค์ผลงานต่อไป โดย Synap.BKK



“Sound of Nang Loeng”

กิจกรรม “เสียงของนางเลิ้ง” เพื่อสะท้อนศักยภาพของพื้นที่ที่ขาดการใช้งานในชุมชน ให้เป็นพื้นที่เพิ่มความบันเทิงในชีวิตประจำวันของชุมชน ผ่านกิจกรรมคาราโอเกะ โดย KIMBAB:)



“Nang Loeng Menu Hunt!”

ต่อยอดโครงการเดิม (BKKDW 2023) พัฒนาเป็น Place-based game ช่วยให้คนสนุกกับการท่องเที่ยวย่านนางเลิ้ง ผ่านเมนูอาหาร



“USL’s Journey”

นิทรรศการงานวิจัยเมืองภายใต้โครงการ “Entertainment in Everyday นางเลิ้งบันเทิงทุกวัน”



“Biblio-dis-theque"

ห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อเยาวชนในชุมชน” พื้นที่เรียน-อ่าน-เล่น ขนาดกระทัดรัดที่เข้าถึงชุมชนได้



Precious Plastic Bangkok : Liveable Scape

โดย Precious Plastic Bangkokบอกเล่าเรื่องราวของนางเลิ้ง จากผู้เชี่ยวชาญเรื่องการรีไซเคิลพลาสติกผ่านการออกแบบสิ่งของที่ชุมชนนั้นใช้งานประจำอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น เก้าอี้ม้านั่ง หรืออุปกรณ์เสี่ยงเซียมซีในศาลเสด็จเตี่ย



“สร้างสรรค์โต๊ะอาหารจิ๋วให้กระรอก”

โดย Love Wildlife Foundation เวิร์คชอปประกอบโต๊ะอาหารจิ๋วให้กระรอก โดยเป็นพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมได้ออกแบบ สร้างสรรค์ และตกแต่งระบายสีลวดลายของโต๊ะในแบบของตนเอง พร้อมเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกับสัตว์ป่าในเมืองอย่างถูกต้อง



“ระดมสมองปัญหาแมวจร”

โดย Love Wildlife Foundation Brainstorming workshop ออกแบบแนวทางเพื่อแก้ปัญหาแมวจร และสุขอนามัยภายในชุมชนมหานาคกรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด “คนอยู่ได้ แมวอยู่ด้วย”



“การออกแบบเพื่อสิ่งมีชีวิตทั้งมวล”

วงสนทนาขนาดเล็กในพื้นที่สวนจักรพรรดิชุมชน สวนออกแบบโดยชุมชน เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อทั้งสัตว์และชุมชน เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “เมื่อมนุษย์ไม่ได้เป็นผู้อยู่อาศัยเพียงหนึ่งเดียวในเมือง เราจะมีการจัดการพื้นที่อย่างไร เพื่อให้ทุกสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยร่วมกันอย่างเป็นมิตรและเกื้อกูลกัน” จัดดำเนินกิจกรรมโดย Love Wildlife Foundation 



“โต๊ะกินข้าวนอกบ้าน”

พื้นที่ที่คนจะได้มาเจอกันผ่านการทานอาหาร และยังมีส่วนร่วมในการลดปัญหาขยะอาหาร ผ่านการปรุงอาหารจาก อาหารส่วนเกินที่นำมาปรุงให้เป็นเมนูใหม่ โดย Scholars of Sustenances 



“Whisper of Nobodies”

นิทรรศการ บอกเล่าถึงเรื่องราวขอคนในชุมชนเมืองต่อประเด็นความมั่นคงทางอาหาร และความเปราะบางของการใช้ชีวิตในเมือง โดย Scholars of Sustenances 



“ประกวดคลิปวิดิโอ ในหัวข้อย่านนางเลิ้งบันเทิงทุกวัน”

ทำอย่างไรที่จะสื่อสารออกมาให้คนอื่นรู้ว่าย่านนางเลิ้งบันเทิงได้ทุกวัน ถ่ายทำผ่านการเข้าร่วมและเยี่ยมชมเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567



โดยกิจกรรมทั้งหมด ทางศูนย์วิจัยชุมชนเมืองและภาคีเครือข่ายภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมนั้น มีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งในการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในการจัดงานเทศกาล เรามุ่งเน้นในการใช้สิ่งของ วัสดุ อุปกรณ์ที่มีอยู่เพื่อลดการใช้วัสดุใหม่ที่ใช้แล้วทิ้ง อีกทั้งมีการนำเสนอการออกแบบที่ใช้วัสดุเหลือใช้ และนำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ในการจัดดำเนินงาน นอกจากนี้เมื่อจบเทศกาลไป ผลงานการออกแบบ นิทรรศการต่าง ๆ และวัสดุทั้งหมดได้ถูกวางแผนในการจัดเก็บและมีแผนในการนำไปใช้ซ้ำในเทศกาลหรืองานต่าง ๆ ในอนาคตของแต่ละองค์กรอีกด้วย โดยจากการเก็บข้อมูลได้วัสดุทั้งหมดที่ใช้ในจัดดำเนินการทั้ง 12 โปรแกรมนั้น 

  • จะถูกนำไปใช้ซ้ำ (Reuse) 46.6% 

  • ถูกนำไปเก็บไว้ในคลังเพื่อรอการนำไปใช้ในโอกาสหน้า (Stored)  28.4% 

  • จะถูกนำไปแยกชิ้นส่วนและรีไซเคิลอย่างถูกต้อง (Recycled) 17.9% 

  • จะถูกนำไปปรับเปลี่ยนรูปแบบ และใช้ในวัตถุประสงค์ที่เปลี่ยนไป (Repurposed) 4.7% 

  • ถูกทิ้งสู่กระบวนการจัดการขยะ (Landfill) 2.4%

ตลอดกิจกรรมทั้ง 9 วันได้มีผู้เข้าชมผลงานการแสดงในพื้นที่มากกว่า 5000 คน และเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมด 1,595 คน อีกทั้งยังได้สร้างการรับรู้ในพื้นที่โซเชียลผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ 4 Platforms เพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงเรื่องราวและอัตลักษณ์ของพื้นที่ย่านนางเลิ้ง ไปมากกว่า 50,000 engagements  



นอกจากนี้ หลังจากการจำกิจกรรมเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ แผนในระยะยาวทางศูนย์วิจัยชุมชนเมือง จะยังคงดำเนินการในการที่จะพัฒนาเพื่อให้สามารถที่จะเป็นงานออกแบบที่ใช้งานได้จริงต่อไปในอนาคต โดยมี 3 โครงการ จากทั้งหมด 12 โปรแกรม ได้แก่


“ Biblio-dis-theque ห้องสมุดเคลื่อนที่ชุมชน ” ห้องสมุดในรูปแบบของรถเข็นที่เคลื่อนที่ไปยังชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ย่านนางเลิ้ง เพิ่มเพิ่มการเข้าถึงของแหล่งเรียนรู้ได้ทุกเพศทุกวัย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กและเยาวชนที่ทางศูนย์วิจัยฯ พบว่ามีการใช้เวลาว่างไปกับการเล่นสมาร์ทโฟน และส่งผลต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ โดยในช่วงเทศการงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 ได้ทดลองออกแบบเครื่องมือที่จะดึงดูดให้เด็กๆสนใจการอ่าน ที่สามารถใช้คู่กับห้องสมุดนี้ได้ ออกมา 2 ชุด

  • “นิทานทำมือจากหนังสือเล่มโปรด” กระตุ้นความสนใจในหนังสือ ผ่านการให้น้อง ๆ ทดลองเลือกหนังสือที่สนใจ และค้นหาตัวละครและเรื่องราวที่ชอบจากหนังสือเหล่านั้น มีร้อยเรียงให้เป็นเรื่องเล่าของตัวเอง ซึ่งจะเป็นการเริ่มต้นให้น้อง ๆ ได้ฝึกอ่านเรื่องราวสั้น ๆ และได้นำเรื่อวราวมาทดลองต่อยอดให้เป็นเรื่องใหม่ ฝึกทักษะ storytelling และใช้จินตนาการ 

  • “บัตรเชิญเพื่อนอ่าน” เมื่อตนเองอ่านหนังสือจบไปแล้ว ได้ข้อคิดเห็นอย่างไร แล้วอยากให้ใครมาอ่านเล่มนี้ด้วยกัน ซึ่งจะเป็นการสร้างบทสนทนาและเชิญชวนให้เด็กๆ เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กบเพื่อนคนอื่น ๆ ผ่านสิ่งที่สนใจ 

โดยได้นำเสนอทั้งห้องสมุดเคลื่อนที่กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ และทดลองจัดกิจกรรม Workshop กับเด็ก ๆ เพื่อให้เห็นถึงความน่าสนใจและการนำไปใช้ได้จริงของโครงการ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี และมีโอกาสที่จะสามารถทำไปใช้งานจริงใน 3 พื้นที่ ได้แก่พื้นที่ลานชุมชนวัดโสมนัส และหน้าร้านกาแฟ 2 ร้านค้าในย่านต่อไป รวมถึงจะสามารถขยายเครือข่ายของพื้นที่ที่จะสามารถจอดและทำกิจกรรมกับเด็กๆ ต่อได้ในอนาคต 


กระดานล่าร้านอร่อยนางเลิ้ง Prototype เกมกระดานที่ทำหน้าที่เหมือน guidebook ของย่าน เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของร้านอาหารและแหล่งท่องเที่ยวของย่านนางเลิ้ง ผ่านกระบวนการ Gamification ซึ่งจะถูกนำไปพัฒนาเพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการนำเสนอเรื่องราวของร้านอาหารและจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจพื้นที่ย่านนางเลิ้ง และจะถูกนำไปใช้ต่อไปเพื่อประชาสัมพันธ์ และเป็นการดึงดูดประชาชนและนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมและจับจ่ายใช้สอยในย่าน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับย่านผ่านงานออกแบบสร้างสรรค์ในระยะยาว


และ สุดท้าย Precious Plastic : Liveable Scape โดย Precious Plastic Bangkok ที่จะพัฒนา prototype ที่นำเสนอไป ให้เป็น Street Furniture ที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และสร้างพื้นที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจในย่านให้มีเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นการสร้างสีสันให้กับพื้นที่ริมถนนย่านนางเลิ้งอีกด้วย ซึ่งจะต้องมีการหารือและนำเสนอให้มีการจัดตั้งในพื้นที่สาธารณะต่อไป 


ซึ่งทั้ง 3 โครงการนี้ ตอบโจทย์จากทางกทม. “HACK BKK” ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวคิดการออกแบบของปีนี้ ทั้งหมด 6 ประเด็นปัญหาจากทั้งหมด 16 ประเด็นที่ทางกรุงเทพมหานคร*ได้กำหนดให้ ได้แก่  

5 การจัดการขยะ อากาศ น้ำเสีย

9 ส่งเสริมการเรียนรู้ทุกวัย

13 สร้างชุมชนเข้มแข็งร่วมพัฒนา

14 ดีไซน์ความใกล้ชิด ใส่ใจสารทุกข์สุขดิบ

15 สร้างตัวตนจุดเด่นของย่าน/ชุมชน

16 Data สร้างเมือง 

*(โจทย์ Hack BKK เข้าถึงได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1qvUqyOrTnuLWxBAyTYw29rfZMYTgISxH/view?usp=sharing

ซึ่งทางศูนย์วิจัยชุมชนเมืองและภาคีเครือข่ายที่ร่วมนำเสนอผลงานออกแบบเหล่านี้ จะร่วมกันขับเคลื่อนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในหลากหลายภาคส่วน เพื่อให้ผลงานออกแบบนั้นเป็นสิ่งที่ใช้ได้จริง ส่งต่อประโยชน์ให้กับชุนชน เพื่อเป็นการพัฒนาพื้นที่เมืองของเราให้เป็นเมืองที่ดีต่อกาย ดีต่อใจ และน่าอยู่สำหรับทุกคนต่อไปในอนาคต

51 views0 comments

Comments


bottom of page