top of page

แบบอย่างความยั่งยืนที่เกิดขึ้น ณ ปารีส โอลิมปิก 2024

Updated: Aug 26

การแข่งขันโอลิมปิก ถูกจัดขึ้นครั้งแรกที่เมืองโอลิมเปียของกรีก บันทึกของการแข่งขันนี้สามารถย้อนกลับไปได้ถึง 776 ปีก่อนคริสตกาล( 776 BCE)  หลายคนถือว่า การแข่งขันท้องถิ่นนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันโอลิมปิกทั้งหมดที่ตามมา  

การแข่งขันโอลิมปิกในสมัย โบราณเกิดขึ้นในช่วงเวลาทุกๆๆสี่ปี ซึ่งประกอบด้วยเหตุการณ์กีฬาหลายประเภทที่เป็นที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย ต่อผู้ชมสมัยใหม่ การแข่งขันโบราณเหล่านี้รวมถึงมวย การขว้างหอก รวมไปถึง “แพนเครชั่น (Pankration)” และการแข่งรถม้า แต่หลังนั้น การแข่งขันนี้ก็ถูกหยุดชะงักไปนานถึง 1,503 ปี จนมาได้รับการฟื้นฟูในปีค.ศ 1896  การแข่งขันโอลิมปิก ก็ได้รับความนิยมในระดับนานาชาติเกินกว่าที่เคยเป็นในอดีต และทำให้ การแข่งขัน โอลิมปิกได้กลายเป็นเสาหลักในวงการบันเทิงระดับโลก



ในยุคปัจจุบัน การแข่งขันโอลิมปิกเป็นการแข่งระดับนานาชาติที่นักกีฬาจากทั่วโลกมารวมตัวกันเพื่อแข่งขันในกีฬาหลายประเภท ในช่วงเวลาสองสัปดาห์ของการแข่งขันโอลิมปิกที่ปารีสปี 2024 จะมีการจัดแข่งขันมากกว่า 300 รายการจาก 196 ประเทศเข้าร่วม ด้วยขนาดและความยิ่งใหญ่ของการแข่งขัน เมืองต่างๆ ต้องรับผิดชอบในการเตรียมความพร้อมทั้งสำหรับผู้เข้าร่วมแข่งขันและผู้ชม การได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เคยถูกมองว่าเป็นเกียรติสูงสุด หลายๆประเทศแข่งขันกันเสนอราคา ประมูล แผนการก่อสร้าง เพื่อได้เป็นประเทศเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน


  แม้ว่าแผนการเหล่านี้จะมีค่าใช้จ่ายและการดำเนินการที่สูง แต่ในตอนแรกค่าใช้จ่ายเหล่านี้มักถูกชดเชยด้วยรายได้จากการท่องเที่ยวและการรับชม โอลิมปิกถูกมองว่าเป็นสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ซึ่ง นักกีฬาโอลิมปิกก็จะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกระดับโลก ขณะที่เมืองเจ้าภาพได้รับประโยชน์จากนักท่องเที่ยวหลายล้านคนและการถ่ายทอดสดสู่ผู้ชมทั่วโลก


แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายประเทศได้ประท้วงกับ “ สิทธิพิเศษ” ของการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาแต่ละการแข่งขันโอลิมปิกมักมีค่าใช้จ่ายและการใช้จ่าย ที่มากกว่าเดิมทุกปี ในปี 2000 ซิดนีย์ใช้เงิน 5.2 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2008 ปักกิ่งใช้เงิน 8.3 พันล้านดอลลาร์ และในปี 2020 โตเกียวใช้เงินมากกว่า 13.7 พันล้านดอลลาร์ เมื่อการแข่งขันโอลิมปิกใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการสนามกีฬา สระว่ายน้ำ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ กลายเป็นภาระหนักทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม


ซึ่งในปี 2024 ปารีสจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกที่อยู่ภายใต้การเฝ้าดูของโลกทั้งโลก ความกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืนของการพัฒนาเมืองระยะสั้นที่มุ่งเน้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของการแข่งขัน รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการลงทุนในโครงการนี้ ก็ได้กลายเป็นหัวข้อข่าวทั่วโลก ปารีสจะจัดการกับความท้าทายเหล่านี้อย่างไร? พวกเขาประสบความสำเร็จหรือไม่? และปฏิกิริยาจากเวทีนานาชาติเป็นอย่างไร?

ขอบคุณภาพจาก : www.olympics.com/en/paris-2024


ในขณะที่พิจารณาผลกระทบที่โอลิมปิกจะมีต่อปารีสในฤดูร้อนนี้ สิ่งสำคัญคือต้องย้อนกลับไปดูผล

กระทบที่โอลิมปิกได้สร้าง ต่อเมืองเจ้าภาพในอดีต  ในปี 2012 ลอนดอนเป็นเมืองแรกที่เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกสมัยใหม่ถึง 3 ครั้ง ลอนดอนมีประสบการณ์และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการรับรองความสำเร็จ ในช่วงการแข่งขัน ลอนดอนสามารถฟื้นฟูพื้นที่บางแห่งในเมืองขณะที่ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยที่พักที่เข้าถึงได้ง่าย  แต่ก็ยังมีกรณีที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง เช่น ในปี 2004 เอเธนส์ ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกจากแผนการพัฒนามีความเป็นไปได้ ประเทศกรีซจึงตื่นเต้นกับโอกาสที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านการแข่งขันโอลิมปิก แต่หลังจากการแข่งขันจบลง โครงสร้างหลายแห่งที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันยังคงถูกทิ้งร้างอย่างไร้การใช้งาน นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการจัดการ ที่ผลักดันให้ประเทศกรีซเข้าสู่วิกฤตหนี้ที่ร้ายแรงในเวลาต่อมา


ในความพยายามที่จะเปลี่ยนความคิดเห็นของสาธารณชนเกี่ยวกับการแข่งขันโอลิมปิก คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้ปรับปรุงแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนขึ้นใหม่ สำหรับการแข่งขันโอลิมปิกปี 2024 ที่ปารีส คณะกรรมการได้กล่าวว่า "ความยั่งยืน(Sustainability goals) เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของแผนงานโอลิมปิก" จึงทำให้ การแข่งขันโอลิมปิก ปารีส 2024 ปีนี้มุ่งเน้นไปที่การใช้โครงสร้างที่มีอยู่แล้วและการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ปารีสยังได้ให้คำมั่นที่จะทำความสะอาดแม่น้ำแซนและปลูกต้นไม้มากกว่า 200,000 ต้นทั่วเมืองเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมในระยะยาว


ปี 2024 ปารีสโอลิมปิก ได้มีการออกแบบให้ หมู่บ้านนักกีฬาใช้นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัยและหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง สวนบนดาดฟ้า และ ระบบทำความเย็นแบบประหยัดพลังงาน เพื่อมุ่งสู่การลดการปล่อยคาร์บอนสู่โลก ภายในหมู่บ้านเองก็ยังคงใช้เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในพื้นที่ห้องนอนนักกีฬา เตียงนอนจะทำจากกล่องกระดาษแข็งรีไซเคิลที่แข็งแรง ส่วนเฟอร์นิเจอร์ในห้องนั่งเล่นจะทำจากพลาสติกรีไซเคิลที่มาจากอุปกรณ์กีฬาที่เลิกใช้แล้ว เช่น ลูกขนไก่และร่มชูชีพ ซึ่งทำให้นอกจากจะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว หมู่บ้านนี้ยังถูกออกแบบเพื่อรองรับการเปลี่ยนเป็นย่านที่พักอาศัยสำหรับชุมชนท้องถิ่นในอนาคตหลังจากการจบการแข่งขัน 

ขอบคุณภาพจาก : www.olympics.com/en/paris-2024

เพื่อหลีกเลี่ยงความล้มเหลวที่เคยเกิดขึ้นในการจัดโอลิมปิกในอดีต ปารีสได้ตัดสินใจที่จะยึดแนวทางที่ ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ โดยการนำโครงสร้าง สถาปัตยกรรมที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพื่อป้องกันการก่อสร้างที่ซ้ำซ้อน 

จากสนามแข่งขันทั้งหมด 35 แห่งในโอลิมปิกปีนี้ มีเพียง 2 แห่งเท่านั้นที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ โดยส่วนประกอบส่วนใหญ่ของสถานที่ใหม่เหล่านี้ได้มาจากแหล่งที่มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้จัดงานกล่าวว่า สถานที่เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นด้วย "วิธีการก่อสร้างแบบ Low carbon" จากใช้วัสดุ เช่น พลาสติกรีไซเคิลและไม้ สนามกีฬาในปารีสที่มีอยู่แล้วก็ได้รับการปรับปรุงเพื่อรองรับความต้องการของโอลิมปิก และยังมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอื่นๆ เช่น การปรับ พิพิธภัณฑ์ Grand Palais ให้สามารถรองรับกิจกรรมโอลิมปิกอย่าง การแข่งขันกีฬาฟันดาบ

ความพยายามในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก ของโอลิมปิกในครั้งนี้ช่วยลดต้นทุนในการจัดงานและ ยังช่วยให้ IOC หลีกเลี่ยงการลงทุนไปกับโการจัดงานที่ฟุ่มเฟือยและขาดความรอบคอบ ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส และ IOC ยังได้พยายามทำความสะอาดพื้นที่ในและรอบๆ ปารีส โดยก่อนหน้านี้ นายกเทศมนตรีปารีส Anne Hidalgo ได้ให้คำมั่นที่จะทำความสะอาดแม่น้ำแซนและทำให้สามารถว่ายน้ำได้ภายในช่วงเวลาที่โอลิมปิกจะจัดขึ้น การติดตั้งระบบจัดการน้ำมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ก็แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเมืองและ IOC ต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว 


นอกจากนี้ ปารีสยังได้พิจารณาด้านความสวยงาม โดยการปลูกต้นไม้กว่า 200,000 ต้นทั่วเมือง ซึ่งไม่เพียงแต่จะเพิ่มความสวยงามให้กับถนนในปารีส แต่ยังสามารถดูดซับ CO2 มูลค่ากว่าล้านปอนด์ จากบรรยากาศท้องถิ่นในแต่ละปี นอกเหนือจากการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการทำความสะอาดเมือง ปารีสยังได้พยายามเพิ่มการเข้าถึงด้วยการประกาศให้มีบริการรถรับส่งฟรีและระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ สำหรับนักกีฬาและผู้ชม อีกทั้งยังได้สนับสนุนจาก  Toyota  จึงทำให้โอลิมปิกครั้งนี้ได้นำเสนอรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนจำนวน 500 คัน เป็นพาหนะส่วนตัวอย่างเป็นทางการสำหรับการแข่งขัน ในขณะเดียวกัน เมืองนี้ยังได้จัดเตรียมเครือข่ายจักรยานยาว 60 กิโลเมตรสำหรับการใช้งานตลอดระยะเวลาของเกม

ความพยายามของปารีสและ IOC ในการรองรับผู้คน ทำความสะอาดเมือง และเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง ไม่เพียงแต่เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันโอลิมปิก แต่ยังเป็นการสร้างแรงผลักดันในการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนในระยะยาวให้กับเมือง เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์การจัดงานในอดีต การใช้วิธีการที่ยั่งยืนแบบนี้ จะทำให้งานกีฬาโอลิมปิกสามารถสร้างคุณค่าอย่างแท้จริงหรือไม่?


นักวิจัยอิสระคาดการณ์ว่าโอลิมปิกปี 2024 จะเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อเมืองเจ้าภาพปารีส จากเงินลงทุนเริ่มต้น 7 พันล้านยูโร ได้รับการคืนทุนแล้ว 4 พันล้านยูโรจากรายได้ที่ได้รับจากการสนับสนุนส่วนตัวและการขายตั๋ว สำหรับเงิน 3 พันล้านยูโรที่เหลือที่ได้จากการสนับสนุนสาธารณะ ส่วนใหญ่คาดว่าจะกลับมาสู่ชุมชนในรูปแบบของการท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าการท่องเที่ยวในพื้นที่จะพุ่งสูงขึ้น โดยจะมีผู้มาเยือนเพิ่มขึ้น 2.3-3.1 ล้านคน ในช่วงสองสัปดาห์ของการแข่งขัน นักวิจัยคาดการณ์ว่าการท่องเที่ยวจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีก 2.6 พันล้านยูโรให้กับปารีส ซึ่งจะช่วยชดเชยต้นทุนเริ่มต้นที่เกิดขึ้นกับสาธารณะ นอกจากความเป็นผลดีทางการเงินแล้ว ในรายงานยังได้กล่าวถึงการพัฒนาในย่าน Saint Denis ที่เดิมเป็นย่านที่ยากจน โดยงานกีฬาโอลิมปิก จะมีการสร้างหน่วยที่พักอาศัย 2,800 หน่วย (บ้านที่ถูกปรับปรุงมาจากหมู่บ้านโอลิมปิก) และโรงเรียนใหม่ 2 แห่ง ควบคู่กับการฟื้นฟูที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากนักท่องเที่ยว ซึ่งจะอนาคตจะเป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านในระยะยาว แม้ว่ารายงานจะวาดภาพที่สดใสในขณะที่นักกีฬา เมือง และชาวบ้านทุกคนจะได้ประโยชน์ แต่เรื่องราวในอดีตของงานกีฬาโอลิมปิกก็ยังเป็นความล้มเหลวไม่ควรถูกลืม


ขอบคุณภาพจาก : www.olympics.com/en/paris-2024


เมื่อมองถึงโอกาสในการจัดโอลิมปิกในกรุงเทพฯ จำเป็นต้องเผชิญกับความเป็นจริงที่ไม่สวยงาม ความนิยมของโอลิมปิกยังคงเติบโต และความเข้มข้นของผลกระทบที่เกิดขึ้นก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ด้วยขนาดที่ยิ่งใหญ่ของการแข่งขัน ทำให้หลายคนมองว่าโอลิมปิกเป็นภาระหนักที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายมหาศาลแก่เมืองเจ้าภาพ ด้วยชื่อเสียงและความเป็นไปได้ในการจัดโอลิมปิกที่ลดลง 

คำถามคือ เราจะทำอย่างไรเพื่อบริหารจัดการเมือง ที่สามารถควบคู่ไปกับความเพลิดเพลินในประเพณีโบราณนี้ได้ โดยไม่ต้องแบกรับภาระหนักที่มากเกินไป ซึ่งด้วยการลดการใช้จ่ายในปีนี้ IOC ได้เปิดโอกาสให้นักคิดที่มีความคิดสร้างสรรค์ ได้มาแสดงศักยภาพ แนวทางใหม่ จึงทำให้หลายคนชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จของปารีสโอลิมปิกในปีนี้ที่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้  ซึ่ง ปารีส 2024 นับว่าเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคใหม่ของโอลิมปิก ที่การจัดแข่งขันไม่ได้ถูกมองว่าเป็นภาระอีกต่อไป แต่เป็นการปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริงของเมือง 

การจัดโอลิมปิกควรได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อมในเมือง ที่มันเกิดขึ้นและพยายามปรับปรุงบริหารจัดการอยู่เสมอ ในการทำให้โอลิมปิกเป็นสิ่งที่เป็นไปได้และคุ้มค่าในประเทศอื่นๆ เช่น ไทย IOC ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องทำ อย่างไรก็ตาม วิสัยทัศน์นี้อาจใกล้เคียงกว่าที่เราคิด


ผู้เขียน : Devin O’Connor

ผู้แปล : Chayapon Sitikornvorakul


141 views0 comments

Comments


bottom of page