top of page
Writer's pictureSuwaporn Leangpasuk

โครงการคนจนเมือง

Updated: Apr 12





รู้หรือไม่? พื้นที่เล็กๆ ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร….

Did you know? In some areas of Bangkok....

  • 70% ครัวเรือน มี รายจ่าย มากกว่า รายได้ 70% of households have expenses higher than income

  • สภาพบ้านทรุดโทรม ไม่แข็งแรงถึง 63% 63% of houses are run-down and unstable

  • สมาชิกครอบครัวไม่ทำงาน 52% ในขณะที่ทำงาน 44% 52% of family members are unemployed while 44% are employed

  • กลุ่มเป้าหมายประมาณ 500 คนระบุว่าไม่ได้รับสวัสดิการสังคม คิดเป็น 25% About 500 target people, or 25%, said they do not receive social welfare


ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นความเหลื่อมล้ำและขาดคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคม โดยมีความจำเป็นในการเตรียมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและความเปราะบางในสังคมไทย

This data points to inequality and lack of good quality of life in society. There is a need to prepare for changes in population structure and vulnerability in Thai society.


ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง (Urban Studies Lab) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม ววน. และหน่วย บพท. จัดทำโครงการ ‘การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกับชุมชน’ หรือมีชื่อย่อว่า ‘คนจนเมือง’ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

Urban Studies Lab received funding from National Science Research and Innovation Fund (NSRF) and Program Management Unit on Area Based Development (PMU A) to run ‘Urban Poverty Alleviation’ project. The objective is:


  1. ศึกษาข้อมูลคนจนในเมือง และการออกแบบกระบวนการเก็บข้อมูล พัฒนาเครื่อข่ายการเก็บข้อมูลพื้นที่ Study data on the urban poor and design a data collection process, develop area data collection networks:

  2. เก็บข้อมูลเพื่อแบ่งกลุ่มครัวเรือนยากจน เป็น 4 ระดับ (ตามกรอบการดำรงชีพอย่างยั่งยืน Sustainable Livelihood Framework: SLF) เพื่อออกแบบแนวทางการส่งต่อความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความยากจน Collect data to categorize impoverished households into 4 levels (according to the Sustainable Livelihood Framework: SLF) in order to design approaches for providing assistance and alleviating poverty.

  3. ระบุปัญหา ศักยภาพของพื้นที่ ฐานทุนทางพื้นที่ และ วิธีการแก้ไขที่เหมาะสมกับพื้นที่นำร่อง 3 เขต ได้แก่ เขตพระโขนง ป้อมปราบศัตรูพ่าย และคันนายาว Identify problems, area potential, area capital base, and suitable solutions for the 3 pilot districts of Phra Khanong, Pom Prap Sattru Phai, and Khanna Yao.




  • กลุ่มเปราะบาง ผู้ที่มีรายได้น้อย (คนจน) ในชุมชนทั้ง 3 เขต ได้แก่ พระโขนง ป้อมปราบ คันนายาว Vulnerable groups and low-income (poor) people in the three districts of Phra Khanong, Pom Prap, and Khanna Yao.





1. เริ่มเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกับชุมชน โดยเริ่มจากพื้นที่นำร่องเก็บข้อมูล 3 เขต ได้แก่ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระโขนง และเขตคันนายาว โดยเอามาวิเคราะห์เป็นต้นทุน 5 มิติ ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนการเงิน ทุนกายภาพ ทุนธรรมชาติ และทุนสังคม

Collecting community database, starting with the 3 pilot districts of Pom Prap Sattru Phai, Phra Khanong, and Khanna Yao. Analyze this into 5 capital dimensions: human, financial, physical, natural, and social capital.

2. ประเมินและชี้วัดความจนจากข้อมูลที่สำรวจ โดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ อยู่ลำบาก อยู่ยาก พออยู่ได้ อยู่ดี

Assess and indicate poverty levels from the surveyed data by categorizing into 4 levels: struggling, indigent, sufficient, and thriving.

3. พัฒนาด้านอาชีพและกลไกด้านที่อยู่อาศัย (ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ยกระดับการเข้าถึงสวัสดิการ)

Develop careers and housing mechanisms (reduce expenses, increase income, improve access to welfare).





รูปแบบกิจกรรม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่

Activity Models divided into 2 main parts:

  1. การรวบรวมข้อมูล (Data Collection)

  • ใช้ทฤษฎีการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihood Framework: SLF) ในการพัฒนาแบบสอบถาม โดยก่อนการเก็บแบบสอบถาม มีการจัดเวทีชี้แจงและสอนอาสาสมัครเกี่ยวกับแบบสอบถามและการเก็บข้อมูล และสอนเจ้าหน้าที่เขตนำเข้าข้อมูล The Sustainable Livelihood Framework (SLF) theory was used to develop the questionnaire. Before data collection, forums were held to explain to volunteers about the questionnaire and data collection process. District officers were also trained on data entry

  • เก็บข้อมูลครัวเรือน ร่วมกับกลุ่มอสส. และกลุ่มอาสาเทคโนโลยี (Tech volunteer) โดยการใช้แบบสอบถามเพื่อพูดคุยกับชุมชน เพื่อแบ่งกลุ่มครัวเรือนยากจน เป็น 4 ระดับ ได้แก่ อยู่ลำบาก อยู่ยาก พออยู่ได้ อยู่ดี Collect household data with volunteer groups and tech volunteers, using questionnaires to interview the community and categorize impoverished households into 4 levels: struggling, indigent, sufficient, thriving

  • มีเปิดเวที วงประชุม กับเขต และภาคีที่เกี่ยวข้อง Hold forums and meetings with districts and relevant partners

2. การช่วยเหลือ (Assistance)

  • การส่งต่อข้อมูล กลุ่มคน อยู่ลำบาก ให้ภาครัฐที่ดูแลกลุ่มเป้าหมายนี้อยู่แล้วรับผิดชอบ Forward data on the ‘struggling’ group to government agencies already responsible for this target group

  • ส่วนกลุ่มที่เหลือ 3 กลุ่ม ได้แก่ อยู่ยาก พออยู่ได้ อยู่ดี จะเข้าโครงการแก้จน Operating Models (OM) The remaining 3 groups (indigent, sufficient, thriving) will enter the poverty alleviation operation models (OMs)

  • ทำโครงการแก้จนตามพื้นที่เขต โดยมีความเฉพาะเจาะจงของกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละเขต Implement poverty alleviation projects tailored to each district area. For example, the Organic Agriculture Learning Center project in the Khanna Yao area arose from the availability of suitable vacant land to develop as a food source and employment for people in the community, coupled with the community's need for garden/vegetable growing spaces.






ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 4P: 4 ด้านที่สอดคล้องกับพันธกิจของศูนย์วิจัยชุมชนเมือง ได้แก่

The impacts from this project can be divided into 4P: 4 areas aligned with Urban Studies Lab's mission:


  • 1. นโยบาย (Policy)

  • เกิดต้นแบบการสนับสนุน ดูแล และส่งต่อประชากรยากจน/เปราะบางโดยมีกลไกระดับเขตและชุมชนเป็นตัวนำ Policy pathway:  Model for supporting, caring for, and empowering vulnerable populations: led by district and community mechanisms.

  • การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ปัญหาความยากจนในกรุงเทพฯ Integration and collaboration between relevant agencies in solving poverty in Bangkok.

  • 2. กระบวนการ (Process)

  • Database platform ฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนในกรุงเทพฯ Developing a platform for establishing a database of urban poverty for Bangkok.

  • โครงการแก้จน Operating Models (OM) 19 โครงการ ในพื้นที่นำร่อง 3 เขต ได้แก่ เขตพระโขนง ป้อมปราบ คันนายาว คาดการณ์ผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจโดยประมาณ 7,400,000 บาท Operation Model 19 projects were implemented across 3 pilot districts, with an estimated positive economic impact of 7,400,000 baht.

  • ผลตอบแทนทางสังคมจาการลงทุน (SROI) ในโครงการตลาดชุมชนและพัฒนาธุรกิจชุมชน เป็นค่า 9.93 The estimated Social return on investment (SROI) for the community market and community business development project is 9.93

  • 3. ผู้คน (People)

  • สามารถเก็บฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนในกรุงเทพฯ เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้กว่า 2,000 คน The data collected for analysis and quality of life development involves over 2,000 individuals in the pilot areas.

  • มีจำนวนเครื่อข่ายร่วมดำเนินงานมากกว่า 20+ หน่วยงาน There are more than 20 collaborating organizations involved in the project.

  • มีจำนวน Tech Volunteer กว่า 50 คน Over 50 tech volunteers are participating in the initiative.

  • 4. สถานที่ (Place)

  • แก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่นำร่อง 3 เขต ได้แก่ เขตพระโขนง ป้อมปราบศัตรูพ่าย และคันนายาว โดยมีโอกาสขยายเข้าไปในพื้นที่อื่น ๆ ในกรุงเทพฯ Improving urban poverty in 3 districts, Pom Prap Sattru Phai, Phra Khanong, and Khan Na Yao, with the opportunity to expand to other areas in Bangkok.

  • โครงการที่เสนอขอโดยชุมชน ได้รับการอนุมัติ 92.31% Projects proposed by the community have an approval rate of 92.31%.

  • ผู้เข้าร่วมโครงการแก้จน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 91.57% Participants in Operation Model projects experienced a 91.57% improvement in their quality of life.

  • 35.83% ของครัวเรือนเข้าร่วมโครงการซ่อมสร้าง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 35.83% of households participated in improved quality of life after home renovations.



จากกระบวนการทำงาน เริ่มเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกับชุมชน ได้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลต้นทุน 5 มิติ ดังนี้

Here is a translation of that section on the 5 capital dimensions data to English:

From the work process starting with collecting community database, interesting data was obtained regarding the 5 capital dimensions as follows:


ทุนมนุษย์ (HUMAN CAPITAL)

  • คนในชุมชนส่วนใหญ่ 74 % สุขภาพปกติ และ 22% ป่วยเรื้อรังไม่ติดเตียง 74% of community members have normal health, and 22% have chronic illnesses but are not bedridden

  • จบการศึกษาเท่ากับหรือต่ำกว่าประถมศึกษาทั้งหมด มีถึง 54% 54% completed education level of primary school or lower

  • สมาชิกครอบครัวไม่ทำงาน 52% ในขณะที่ทำงาน 44% 52% of family members are unemployed, while 44% are employed

  •  79% ไม่มีทักษะสร้างรายได้ 79% do not have income-generating skills

ทุนการเงิน (FINANCIAL CAPITAL)

  • 70% ของครัวเรือนทั้งหมด มีรายจ่าย มากกว่า รายได้ โดยกลุ่มที่มีรายจ่ายมากกว่ารายได้ มีรายได้เฉลี่ยสุทธิ -4,892 บาท/เดือน/ครัวเรือน 70% of all households have expenses higher than income. The group with higher expenses than income has an average net income of -4,892 baht/month/household

  • กว่า 90% ไม่มีการออม Over 90% do not have savings

  • มีหนี้สิน 48% (วัตถุประสงค์ในการกู้ยืม อุปโภค บริโภค ที่อยู่อาศัย รักษาพยาบาล การศึกษา) และ 52% ไม่มีหนี้สิน เพราะ ไม่ต้องการเป็นหนี้ และไม่มีความสามารถในการชำระคืน 48% have debts (purposes of loans: consumption, housing, medical, education) and 52% are debt-free because they do not want debt and lack repayment ability

ทุนกายภาพ (PHYSICAL CAPITAL)

  • สภาพบ้านทรุดโทรม ไม่แข็งแรงถึง 63% 63% of houses are dilapidated and not sturdy

  • 81% ไม่มีสถานที่ทำงานอยู่ใกล้บ้าน 81% do not have a workplace near their home

ทุนธรรมชาติ (NATURAL CAPITAL)

  • 49% ใช้พื้นที่สาธารณะในการประกอบอาชีพ 49% use public spaces for their occupation

ทุนสังคม (SOCIAL CAPITAL)

  • 87% มีการรวมกลุ่มในชุมชน 87% are part of community groups

  • มีการการช่วยเหลือในชุมชน โดย 53% ปรึกษาหารือและช่วยเหลือกันตามธรรมเนียม ไม่มีเกณฑ์บังคับ There is community assistance, with 53% consulting and helping each other customarily without obligation

  • กลุ่มเป้าหมายประมาณ 500 คนระบุว่าไม่ได้รับสวัสดิการสังคม คิดเป็น 25% Around 500 target people, or 25%, said they do not receive social welfare


ข้อค้นพบคือ

Key Findings:

  • ครัวเรือนที่มีจำนวนสมาชิกสูงมักจะมีอัตราการพึ่งพิงสูง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน และมีสัดส่วนสมาชิกผู้หารายได้น้อย ประชากรส่วนใหญ่มีความมั่นคงทางการเงินไม่มาก และมีพฤติกรรมการออมที่ไม่สูง อย่างไรก็ตาม สัดส่วนผู้ที่มีสุขภาพดีค่อนข้างสูง Households with more members tend to have higher dependency ratios, especially among children and youth, and have fewer income-earning members. The population generally has low financial security and low savings behavior. However, the proportion with good health is quite high.

  • ปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการและการสนับสนุนต่าง ๆ มีหลากหลาย และมีการใช้กลไกทางสังคมและการรวมกลุ่มในพื้นที่เพื่อกระจายข่าวสารการช่วยเหลือ There are various issues in accessing welfare and support, with social mechanisms and community groups utilized to disseminate assistance information.

  • สภาพที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อมมีผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งในทางตรงและทางอ้อม และมีชุมชนที่อาศัยในที่พักอาศัยที่ทำจากวัสดุไม่ถาวรและพื้นที่แออัด Housing conditions and environment directly and indirectly affect quality of life, with some communities living in non-permanent dwellings and congested areas.

ข้อมูลเหล่านี้ ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการเตรียมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและความเปราะบางในสังคมไทย ซึ่งทางคณะทำงานได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อระบุปัญหา ศักยภาพของพื้นที่ ฐานทุนทางพื้นที่ และ วิธีการแก้ไขที่เหมาะสมกับพื้นที่

This data highlights the need to prepare for changes in population structure and vulnerability in Thai society. The working team analyzed the data to identify area problems, potential, capital base, and suitable solutions for each area.


ผลผลิตที่เกิดขึ้น

Outputs

  • ครัวเรือนคนจนในเป้าหมายได้รับการช่วยเหลือและแก้ปัญหา Target impoverished households received assistance and problem-solving

  • Database platform ฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนในกรุงเทพฯ โดยเป็น website เพื่อเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือกรอกเก็บข้อมูลได้เลย Database platform for impoverished households in Bangkok, as a dedicated website to collect data that can be used as a data entry tool

  • โครงการแก้จน Operating Models (OM) Poverty alleviation operating models (OMs)

  • แผน/ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำของหน่วยงานในกรุงเทพฯ Integrated and precise poverty alleviation plan/strategy for agencies in Bangkok

  • ต้นแบบการสนับสนุน ดูแล และส่งต่อประชากรยากจน/เปราะบางโดยมีกลไกระดับเขตและชุมชนเป็นตัวนำ A model to support, care for, and refer the impoverished/vulnerable population with district and community mechanisms taking the lead

  • การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ปัญหาความยากจนในกรุงเทพฯ นำไปสู่ต้นแบบและระบบการแก้ไขปัญหาความยากจนในเขตกรุงเทพฯ (มีทั้งข้อมูล ความรู้ กลไก กระบวนการ และการมีส่วนร่วม) Integration and collaboration between relevant agencies and partners in solving poverty in Bangkok, leading to a model and system for poverty alleviation in Bangkok districts (with data, knowledge, mechanisms, processes, and participation)





  1. ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI)

มีการติดตามประเมินผลกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลผลิต ผ่านการกระบวนการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และติดตามการเปลี่ยนแปลง โดยผลลัพธ์ในเชิงปริมาณ หรือสามารถใช้ค่าแทนทางการเงิน

Impacts were monitored and evaluated with stakeholders through interviews, group discussions, and tracking changes. Quantitative outcomes or those that can be monetized:

  • ผลตอบแทนทาสังคมจาการลงทุน (SROI) จากโครงการอบรมเขียนโครงการพัฒนาชุมชน  เท่ากับ 13.79 SROI from community project writing training = 13.79

  • ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) จากโครงการการพัฒนาทางด้านอาชีพเท่ากับ 9.21 SROI from career development projects = 9.21

  • ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) จากโครงการซ่อมสร้างที่อยู่อาศัยเท่ากับ 4.27 SROI from housing renovation projects = 4.27


  1. การประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) 

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ

Quantitative Outcomes:

  • มีจำนวนเครื่อข่ายร่วมดำเนินงานมากกว่า 20+ หน่วยงาน Over 20 partner networks

  • มีจำนวนอสส. ที่เก็บข้อมูลในแต่ละเขต กว่า 50 คน Over 50 volunteers collecting data in each district

  • มีจำนวน Tech Volunteer กว่า 50 คน Over 50 tech volunteers

  • แก้ไขความความจนที่เกิดขึ้นในเมือง 3 เขต และมีเขตที่นำข้อมูลไปใช้ จำนวน 3 เขต Reduced urban poverty in 3 districts, with 3 districts utilizing the data

  • มีกิจกรรมโครงการแก้จนเกิดขึ้น 19 โครงการ 19 poverty alleviation project activities implemented


ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ

Qualitative Outcomes:

  • เพิ่มการทำงานแบบบูรณาการ มีการทำงานกับหลายหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมากขึ้น Increased integrated working with more agencies and relevant sectors

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ อสส. Increased efficiency of volunteer work

  • เพิ่มจำนวนคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาทำงานเพื่อชุมชนมากขึ้น More young people working for communities

  • เป็นต้นแบบแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สำหรับ 47 เขตอื่นๆในกทม. และ Prototype platform สำหรับ 47 เขตทั่วกรุงเทพฯ สร้างฐานข้อมูลเพื่อการทำงานกับหน่วยงานรัฐท้องถิ่น A prototype platform for all 47 Bangkok districts to create a database for working with local government units


โครงการคนจนเมือง เก็บข้อมูลมาแล้วไปไหนต่อ? เราได้นำข้อมูลต้นทุนทั้ง 5 มิติที่ได้จากจากฐานข้อมูลกับชุมชน มาวิเคราะห์เพื่อระบุปัญหา ศักยภาพของพื้นที่ ฐานทุนทางพื้นที่ และ วิธีการแก้ไขที่เหมาะสมกับพื้นที่ นำมาสู่ ‘โครงการแก้จน Operating Models (OM)’

Urban Poverty Alleviation project - Where does the collected data go next? We have analyzed the 5 dimensions of capital data obtained from the database and communities to identify problems, area potentials, local assets, and appropriate solutions for each area. This led to the ‘Operating Models (OM)' projects.


โครงการแก้จน มีจำนวนโครงการทั้งหมด 19 โครงการ ในพื้นที่นำร่อง 3 เขต ได้แก่ เขตพระโขนง ป้อมปราบศัตรูพ่าย และคันนายาว มีงบลงทุนจากโครงการประมาณ 980,000 บาท โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ครัวเรือนยากจน ได้รับประโยชน์ประมาณ 800 ครัวเรือน หรือประมาณ 2,400 คน และมีการคาดการณ์ผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจโดยประมาณ 7,400,000 บาท

There are a total of 19 Operating Models projects in the 3 pilot districts of Phra Khanong, Pom Prap Sattru Phai, and Khanna Yao, with an investment budget of approximately 980,000 baht. The target groups are poor households, with around 800 households or 2,400 people benefiting. The projects are estimated to have a positive economic impact of around 7,400,000 baht.




จากการประเมินกลุ่มครัวเรือนยากจน 4 ระดับ ตามกรอบการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (Sustainable Livelihood Framework: SLF) สามารถแบ่งระดับทุนของคนจนได้ ดังนี้

Based on the Sustainable Livelihood Framework (SLF), the levels of capital for the poor can be divided into:


ระดับทุนของคนจน

ระดับที่ 1 อยู่ลำบาก

เป็นกลุ่มที่มีความขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ต้องนำเข้าสู่ระบบสวัสดิการโดยเร่งด่วน

Level 1 Destitute - This group lacks basic necessities for living and must urgently enter the welfare system.


ระดับที่ 2 อยู่ยาก

เป็นกลุ่มที่มีปัจจัยพื้นฐานที่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ในแต่ละวัน แต่ขาดความสามารถในการจัดหาปัจจัย ซึ่งต้องเร่งดำเนินการจัดทำปัจจัยดำรงชีพ/ยกระดับความสามารถในการจัดทำปัจจัยดำรงชีพของตัวเองให้พออยู่ได้

Level 2 Struggling - This group has sufficient basic necessities for daily living but lacks the ability to acquire these necessities. Immediate action is needed to provide means of livelihood/enhance their ability to sustain themselves.


ระดับที่ 3 พออยู่ได้

ป็นกลุ่มที่มีฐานทุนสำหรับการดำรงชีพ แต่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อสภาวะแปรปรวน ยังไม่เพียงพอที่จะอยู่รอดได้อย่างปลอดภัย หากประสบกับภาวะความแปรปรวนต่างๆ จำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกัน และยกระดับความเป็นอยู่ให้หลุดพ้นจากสภาวะความขาดแคลน/เปราะบาง

Level 3 Getting by - This group has capital for living but lacks resilience to withstand shocks. They are not yet secure enough to survive safely if faced with shocks/volatility. They need resilience building and improved living standards to escape vulnerability.


ระดับที่ 4 อยู่ดี

เป็นกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่อสภาวะความแปรปรวน/ความเสี่ยงต่างๆ มีฐานทุนในด้านต่างๆ ที่เพียงพอในการวางแผนอนาคตของตัวเอง ครอบครัว และเป็นฐานทุนในระดับชุมชนได้

Level 4 Well-off - This group has resilience to withstand shocks/risks. They have sufficient capital in various aspects to plan for their own, their family's, and the community's future.


ครัวเรือนระดับ ‘อยู่ลำบาก’ สนับสนุนเป็นการส่งต่อความช่วยเหลือเร่งด่วน เงินทุนสวัสดิการและซ่อมสร้างที่พักอาศัย ส่วนครัวเรือนระดับ‘อยู่ยาก’ ‘พออยู่ได้’ และ ‘อยู่ดี’ ทางคณะทำงานทำการสำรวจต้นทุน และพัฒนาผ่านโครงการแก้จน Operating Models (OM) เพื่อส่งเสริมด้านอาชีพและเศรษฐกิจให้คนกลุ่มนี้ โดยมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่

For 'destitute' households, urgent assistance referral, welfare cash assistance and housing renovation support are provided. For 'struggling', 'getting by', and 'well-off' households, capital is surveyed and developed through the Anti-Poverty Operating Model (OM) projects to promote careers and economic status.


ศูนย์วิจัยชุมชนเมืองขอแนะนำโครงการต่างๆ ในโครงการแก้จน Operating Models (OM) ให้คุณได้รู้จัก โดยบางโครงการเหล่านี้มีศักยภาพและสามารถต่อยอดการทำงานไปได้อีก เพื่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้คนในชุมชน

Urban Studies Lab would like to introduce some Operating Models (OM) projects that have potential for further development to improve the quality of life and well-being of people in the communities.


โครงการซ่อมสร้าง

Housing Renovation Project

  • สนับสนุนการซ่อมแซมบ้านที่มีสภาพทรุดโทรม และสนับสนุนค่าวัสดุ อุปกรณ์ และค่าจ้างช่างในการซ่อมบ้าน โดยพยายามผลักดันให้เกิดกลไกเงินหมุนเวียนสำหรับการซ่อมแซมบ้านในอนาคต และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคม และองค์กรอื่นๆ ที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา โครงการนี้ทำในทุกเขตพื้นที่นำร่อง  3 เขต เข้าช่วยเหลือ 27 ครัวเรือน (ประมาณ 112 คน) Supports the renovation of dilapidated houses by providing materials, equipment, and labor costs. It aims to promote a revolving fund mechanism for future housing renovations and collaborate with government agencies, civil society, and other organizations interested in participating in solving this issue. This project was implemented in all 3 pilot districts, assisting 27 households (approximately 112 people).

  • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น พบว่า 35.83% ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีความสามารถซ่อมที่อยู่อาศัยด้วยตนเอง  และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย อีกทั้งยังมีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) จากโครงการซ่อมสร้างที่อยู่อาศัยเท่ากับ 4.27 The results show that 35.83% of participating households gained the ability to renovate their dwellings themselves, and their quality of life improved after the renovation. Additionally, the Social Return on Investment (SROI) from the housing renovation project was 4.27.


โครงการเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ

Career Development Project

  • ตลาดชุมชนคนพระโขนง Phra Khanong Community Market

  • สร้างพื้นที่ในการประกอบอาชีพภายในบริเวณใกล้เคียงกับชุมชน โดยมุ่งเน้นไปที่ครัวเรือนยากจนใ้ห้มีพื้นที่ขายสินค้า Creates a space within the community for the poor to sell their products.

  • ตลาดชุมชนป้อมปราบฯ Pom Prap Community Market

  • สนับสนุนการดำเนินงานของชุมชนร่วมกับสำนักงานเขตในการจัดตลาดนัดในเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเพื่อเสริมสร้างรายได้ของกลุ่มเป้าหมาย ที่มีความต้องการขายสินค้า รวมถึงสนับสนุนในการประสานงานสื่อสารกับเครือข่ายชุมชน และ ร้านค้า-ธุรกิจ ในพื้นที่ Supports the district office's operation of a community flea market to generate income for target groups who want to sell products. It also facilitates communication with community networks and businesses in the area.

  • ฟื้นฟูเศรษฐกิจจากฐานทุนชุมชน (ชุมชนบ้านบาตร) Economic Revival from Community Assets (Ban Bat Community)

  • ออกแบบแผนการตลาดและจัดอบรมทักษะทางการตลาดให้แก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อส่งเสริมศักยภาพของธุรกิจในชุมชน รวมไปถึง สร้างความหมุนเวียนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชน Designs marketing plans and provides marketing skills training to target groups to enhance the potential of community businesses and stimulate economic activities within the community.

หลังจบกิจกรรมแล้ว พบว่า 91.57% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น  และมีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) จากโครงการตลาดชุมชนคนพระโขนง ตลาดชุมชนป้อมปราบฯ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากฐานทุนชุมชนบ้านบาตร เฉลี่ยรวมเท่ากับ 9.93

After completing these projects, 91.57% of participants experienced an improved quality of life. The average SROI from the Phra Khanong Community Market, Pom Prap Community Market, and Economic Revival from Community Assets projects was 9.93.


โครงการที่เกี่ยวกับการอบรมเขียนโครงการพัฒนาชุมชน

Community Project Writing Training

  • การอบรมทักษะการเขียนโครงการให้แก่สมาชิกชุมชน เพื่อเพิ่มการเข้าถึงงบประมาณด้วยตนเองของชุมชน หลังจากจบกิจกรรมแล้ว พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความสามารถในการเขียนโครงการ และมั่นใจว่าโครงการจะได้รับอนุมัติงบประมาณ 38.46% โดยมีโครงการที่เสนอขอโดยชุมชน ได้รับการอนุมัติถึง 92.31% Training community members in project writing skills.  So, it increases community self-access to budget. After the training, 38.46% of participants felt confident in their ability to write projects that would be approved for funding. 92.31% of the projects proposed by the communities received approval.

  • มีผลตอบแทนทางสังคมจาการลงทุน (SROI) จากโครงการอบรมเขียนโครงการพัฒนาชุมชน  เท่ากับ 13.79 SROI from the Community Project Writing Training was 13.79.


นอกจากนี้ เรายังพัฒนาต้นแบบการสนับสนุน ดูแล และส่งต่อประชากรยากจน/เปราะบางโดยมีกลไกระดับเขตและชุมชนเป็นตัวนำ โดยโครงการได้พัฒนาต้นแบบ เพื่อปรับและจัดระบบส่งต่อการสนับสนุนช่วยเหลือครัวเรือนยากจนและเปราะบาง มีกลไกระดับเขตและชุมชนเป็นตัวนำ เพื่อสร้างความครอบคลุมในการค้นหา คัดกรอง และติดตามครัวเรือนยากจน ตลอดจนสามารถเชื่อมต่อกับทรัพยากรด้านสวัสดิการของกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

Furthermore, the project developed a model for supporting, caring for, and referring to the poor/vulnerable population through district and community-led mechanisms. This model aims to enhance the identification, screening, and monitoring of poor households, as well as connecting them with Bangkok's welfare resources and relevant agencies.


หลังจากนั้นจะมีอะไรต่อบ้าง? หลังจากโครงการจบลงแล้ว ยังมีแผนที่จะสร้างกลไกและเชื่อมโยงหน่วยงานทั้งหน่วยงานรัฐ ภาคประชาสังคม องค์กรเอกชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่เมืองต่อไป

In the next phase, Urban Poverty Alleviation project plans to establish mechanisms and link various government agencies, civil society organizations, private entities, and relevant partners to sustainably address poverty issues in urban areas.


สำหรับโครงการซ่อมสร้าง:

For Housing Renovation Project:

  • มีการซ่อมบ้านที่เข้าเกณฑ์ต่อไป โดยได้รับทุนสนับสนุนจากภาคเอกชน There is ongoing renovation of houses that meet the criteria, with funding support from the private sector.

  • มีการออกแบบเกณฑ์และกลไกเพื่อประเมินและวัดผล และการประเมิน 5 ด้าน (ได้แก่ ที่อยู่อาศัย ความเป็นอยู่ สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม) โดยมีแผนจะวัดทั้งก่อนและหลัง Criteria and mechanisms have been designed to evaluate and measure impact across 5 dimensions (housing, living conditions, health, economy, society), with plans to measure both before and after.

  • โครงการเก่าๆ ของโครงการซ่อมสร้าง มีการติดตามว่ามีเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง เพื่อทราบความเดือดร้อน และเก็บเป็นข้อมูลความต้องการของพื้นที่เพื่อขยายผลต่อไป For old renovation projects, there is follow-up on what changes have occurred in order to understand hardships, and this data on community needs is collected for further expansion.

  • ในอนาคตอาจมีอาสาสมัคร หรือโครงการ CSR เข้ามาช่วยสนับสนุนในเรื่องวัสดุและการประเมินกับชุมชน In the future, there may be volunteers or CSR projects coming in to support with materials and community evaluation.


สำหรับโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ:

For Career Development Project:

  • ถ่ายโอนทรัพยากรในโครงการพัฒนาตลาดให้ชุมชนจัดการเองเพื่อความยั่งยืน กับพัฒนาธุรกิจชุมชนด้านการตลาด ทั้งเรื่อง Online marketing และพัฒนา Branding ร่วมกับเครือข่าย Resources from the market development project are being transferred for the community to manage themselves for sustainability, along with developing community businesses in marketing, including online marketing and branding development with the network.

  • พยายามขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าและพัฒนาต่อยอดสินค้ารูปแบบใหม่ๆ ร่วมกับชุมชน Efforts are being made to expand sales channels for products and develop new product forms in collaboration with the community.


สำหรับโครงการที่เกี่ยวกับการอบรมเขียนโครงการพัฒนาชุมชน:

For Community Project Writing Training:

  • ทุกชุมชนผ่านขั้นตอนการคิดโครงการแล้ว จึงมีกิจกรรมการนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาโครงการ เพื่อทำให้ชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของข้อมูลในการทำงาน เชื่อมโยงกับการทำแผนที่ชุมชน ทำให้เห็นภาพรวมของชุมชนได้ดีขึ้น All communities have gone through the process of conceptualizing projects, so activities involve using the data to design and develop projects, to help communities understand the importance of data in their work. This is linked to community mapping, providing a better overall picture of the community.

  • เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนกับการอบรมเขียนโครงการพัฒนาชุมชนมากขึ้น โดยทำร่วมกับสำนักงานเขตฯ ในเรื่องของระเบียบข้อบังคับ และทางศูนย์วิจัยชุมชนรับผิดชอบเรื่องกระบวนการเขียนโครงการ Increasing community participation in training on writing community development projects, working with the district office on regulations, while the community research center is responsible for the project writing process.

  • มีการพัฒนาด้านสุขภาวะ โดยทำงานกับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับทุกชุมชนที่สนใจ There is development in the area of well-being, working with the National Health Security Fund with all interested communities.

477 views0 comments

Comentarios


bottom of page