เมื่อเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา ทางศูนย์วิจัยชุมชนเมือง (Urban Studies Lab) ได้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดงานในย่านนางเลิ้ง โดยร่วมจัดนิทรรศการบอกเล่าผลงานและข้อมูลเมืองที่เราอย่างแบ่งปัน หนึ่งในนั้นคือกิจกรรมเก็บข้อมูลสนุกๆ อย่าง ‘มีเงินอยู่ 1,000 บาท คิดอะไรทำอะไรบ้าง?’ โดยเปิดให้ผู้เยี่ยมชมได้หยิบ กระดาษคำตอบแบ่งช่องเป็นแผนภูมิวงกลม เพื่อขีดเขียนสัดส่วนการใช้เงิน 1,000 บาทของตัวเองในหนึ่งวัน โดยมีตัวอย่างค่าใช้จ่าย เช่น ค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าขนมกับเครื่องดื่ม และค่าชอปปิ้ง
จากผลสำรวจผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน มีสัดส่วนการแบ่งค่าใช้จ่าย ดังนี้
อันดับที่ 1 กับ ‘ค่าอาหาร’ คิดเป็น 39% หรือ 390 บาทจากเงิน 1,000 บาท (💡 มีผู้ที่ใช้เงินหมดไปกับค่าอาหารทั้งหมดจำนวน 3 คน จาก 50 คน)
อันดับที่ 2 ’ค่าเดินทาง’ คิดเป็น 20% หรือ 200 บาทจากเงิน 1,000 บาท
อันดับที่ 3 ร่วม ‘ค่าขนมกับเครื่องดื่ม’ และ ‘ค่าชอปปิ้ง’ โดยคิดเป็นอย่างละ 18% หรือ 180 บาทจากเงิน 1,000 บาท
นอกจากนี้ ยังมีหมวดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ทางผู้จัดไม่ได้ระบุลงไปในกระดาษคำตอบ ซึ่งมีความน่าสนใจ ได้แก่ ‘ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง’ โดยในหมวดนี้ มีคนระบุไว้จำนวน 3 คนจาก 50 คน คิดเป็น 4% หรือ 40 บาทจากเงิน 1,000 บาท และ ‘เงินออม’ มีคนระบุไว้จำนวน 2 คนจาก 49 คน คิดเป็น 1% หรือ 10 บาท จาก 1,000 บาท
แม้จะเป็นกลุ่มตัวอย่างเล็กๆ แต่ข้อมูลเหล่านี้บอกอะไรเราได้บ้าง
ค่าใช้จ่ายหลักในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา อยู่ที่อาหารการกิน โดยหากสามารถควบคุมค่าครองชีพด้านอาหารได้แล้ว จะทำให้เหลือเงินเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ไม่มีแหล่งอาหารจากธรรมชาติที่เข้าถึงได้
การเดินทางในกรุงเทพมหานคร โดยต้องจ่ายเงินโดยเฉลี่ย 200 บาททุกวัน ถือว่าค่อนข้างสูงเลยทีเดียวหากเทียบกับอัตราค่าแรงขั้นต่ำของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันคือ 363 บาทต่อวัน* หากต้องใช้จ่ายเงิน 200 บาททุกวันกับการเดินทาง เท่ากับว่าเราต้องเสียเงินเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ไปกับการเดินทาง (คิดจากเงินเดือน 15,000 บาท/เดือน) หากเราสามารถใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุมและสะดวก อาจช่วยลดรายจ่ายด้านการเดินทางมากขึ้นในแต่ละวัน สามารถมีเงินเก็บเข้ากระเป๋าได้มากขึ้นได้
คนยุคใหม่เริ่มให้ความสำคัญกับการดูแลสัตว์เลี้ยงมากขึ้น การเลี้ยงสิ่งมีชีวิตสักตัวนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและมักมีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่เสมอ ทั้งนี้ หากเจ้าของสามารถทำความเข้าใจและบริหารจัดการเงินของตัวเองได้อย่างดีแล้ว ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่เห็นว่ามีคนบางส่วนแบ่งเงินไว้ให้สัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ
สิ่งที่สำคัญแต่หลายๆ คนอาจลืมนึกถึง นั่นก็คือการออมเงิน โดยการออมเงินนั้นสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ เริ่มจากเก็บเงินในแต่ละวัน หรือหักจากรายได้รายเดือน แต่ด้วยรายรับและค่าครองชีพที่สวนทางกัน อาจจะทำให้การมีเงินเก็บเป็นเรื่องที่ยากลำบากมากขึ้น
กิจกรรมการสำรวจการใช้เงิน1,000 บาทในหนึ่งวัน นิทรรศการ USL Journey ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 ในครั้งนี้ เป็นเพียงตัวอย่างการเก็บข้อมูลที่สามารถทำได้ง่าย และนำเสนอมุมมองการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยว่าเป็นเรื่องที่จับต้องได้และสอดแทรกอยู่ในชีวิตประจำวัน ผ่านคำถามชวนคิดสนุก ๆ ก็สามารถนำมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ให้เห็นพฤติกรรมของผู้คนโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง รวมถึงปัญหาในระดับโครงสร้างที่ต้องได้รับความร่วมมือในการแก้ปัญหาจากหลายๆ ฝ่าย เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนเมืองที่ดีขึ้นได้
หมายเหตุ: แล้วสำหรับ Urban Studies Lab เราใช้ 1,000 บาท/วันทำอะไรได้บ้าง? เราใช้เก็บข้อมูลโดยอาสาสมัครกิจกรรม ‘เคี้ยวเพลิน คุยมัน เที่ยวนางเลิ้งแจกพัน!’ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประชาสัมพันธ์ย่าน และกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น ต่อยอดมาสู่ Nang Loeng Menu และ Nang Loeng Menu HUNT!
In one day, what would you do with 1,000 baht?
At the Bangkok Design Week 2024, Urban Studies Lab was part of the event in the Nang Loeng neighborhood. We had an exhibition to share our work and urban data. One of the activities was a fun data collection activity called "What would you do with 1,000 baht in one day?" Visitors were given a pie chart worksheet to write down how they would spend 1,000 baht in one day. There were examples of expenses, such as food, transportation, snacks and drinks, and shopping.
From a survey of 49 participants, the result was as follows:
1st place: ‘Food’ at 39%, or 390 baht out of 1,000 baht (3 out of 49 people spent all of their money on food.)
2nd place: ‘Transportation’ at 20%, or 200 baht out of 1,000 baht.
3rd place (tie): ‘Snacks and drinks’ and ‘shopping’ at 18% each, or 180 baht out of 1,000 baht.
There were also other expense categories that Urban Studies Lab did not list on the worksheet. These were ‘pet expenses’ (3 out of 49 people, 4%, or 40 baht out of 1,000 baht) and ‘saving money’ (2 out of 49 people, 1%, or 10 baht out of 1,000 baht).
What can we learn from this data, even though it is a small sample size?
‘Food’ is the main daily expense. If people can control their food costs, they will have more money left over, especially those who live in cities where there is no easy access to natural food sources.
Transportation costs in Bangkok are quite high. Spending 200 baht per day on transportation is a lot compared to the basic income (363 THB/day*). If people have to spend 200 baht per day on transportation, that means they are losing almost half of their income on transportation (based on a monthly salary of 15,000 baht). If we had a comprehensive and convenient public transportation system, it could help reduce transportation costs and be able to save more.
People tend to pay more attention to pet care. Raising a pet is not easy and there are always hidden costs. However, if the owner can understand and manage their money well, it is a good thing that some people are setting aside money specifically for their pets.
Something that many people may forget is saving money. Saving money can be done regularly, by starting with saving money every day or deducting it from your monthly income.
Exploring how to spend 1,000 Baht in a day at the USL Journey exhibition during Bangkok Design Week 2024 provides a practical example of data collection. Through easy questions, we analyze the behavior patterns, especially on urban dwellers. This sheds light on structural issues requiring collaborative solutions for an improved quality of life for people in the city.
Note: What about Urban Studies Lab? What did we do with 1,000 baht/day? We used it to collect data through volunteers. We used it to exchange knowledge, promote the neighborhood, and stimulate the local economy. This led to the creation of the Nang Loeng Menu and the Nang Loeng Menu HUNT!
*ราชกิจจานุเบกษา ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ฉบับที่ 12 (เข้าถึงได้จาก https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/16239.pdf)
Comments